วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาเอนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ)
 
 
   
จันทร์, 20 มิถุนายน 2554 09:01

 
   
 
เนื่องจากในการดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การลดรายจ่ายของครอบครัวเป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะรายจ่ายสำหรับซื้อน้ำยาหรือสารทำความสะอาด เช่น สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า หรือทำความสะอาดต่าง ๆ นั้น เป็นรูรั่วทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งทำให้แต่ละบ้านต้องจ่ายเงินไปเป็นจำนวนไม่น้อย การทำน้ำยาเอนกประสงค์ด้วยวิธีการที่ง่ายดายเพื่อใช้เองและอุดรูรั่วทางการเงินของครอบครัว ด้วยผลผลิตเหลือกินเหลือใช้และหาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงถือเป็นทางเลือกแห่งวิถีการพึ่งตนเองที่ชาญฉลาดของครอบครัวยุคใหม่
น้ำหมักชีวภาพ คือของเหลวสีน้ำตาล ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก เป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำยาเอนกประสงค์สูตรชีวภาพ สามารถทำใช้ได้ทุกครัวเรือน โดยนำผลไม้หรือพืชผัก และเศษอาหาร มาหมักกับน้ำตาลทรายแดง น้ำตาลอ้อย หรือกากน้ำตาล หมัก 15 วัน - 3 เดือน (ยิ่งนานยิ่งดี) ก็จะได้น้ำหมักที่มีจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ใช้ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ล้างรถ เช็ดกระจก ดับกลิ่น ใช้ใส่แผลฟกซ้ำ ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ รักษาสภาพดิน ใช้แทนสบู่ได้เพราะมีกรดอ่อน ๆ ใช้แทนยาสระผม หรือใช้แทนผงซักฟอกก็ได้ และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดเป็นมลพิษต่อโลก เพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
น้ำยาเอนกประสงค์ สูตรชีวภาพ
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
  1. ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด ขนาดความจุ 32 แกลลอน 1 ใบ
  2. ตะกร้าพลาสติก
  3. เครื่องชั่งน้ำหนัก
  4. ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
  5. ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 อัน
  6. ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน
  7. ช้อนตวง 1 ชุด
ส่วนผสม
  1. เปลือกสับปะรดหรือผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว มะเฟือง ปริมาณ 30 กก. (สรรพคุณเป็นกรด ขจัดคราบมัน)
  2. หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพหรือ EM 1.5 กก. (สรรพคุณช่วยย่อยสลายสับปะรด)
  3. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. (เป็นอาหารของจุลินทรีย์)
  4. น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนน้ำมาใช้)
วิธีทำ
  1. ล้างถังและตะกร้าพลาสติก ทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในถังพลาสติก
  2. นำเปลือกสับปะรดหรือผลไม้รสเปรี้ยวมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำหมักชีวภาพ 1:100 เพื่อสร้างสารเคมีที่ติดมากับเปลือก แช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง
  3. สับเปลือกสับปะรดหรือผลไม้รสเปรี้ยวเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
  4. นำน้ำตาลทรายแดงผสมกับน้ำหมักชีวภาพหรือ EM คนจนละลายหมด
  5. นำส่วนผสมข้อ 3 และ 4 เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดให้ท่วม ปิดฝาทิ้งไว้ เมื่อหมักได้ 2-3 วัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง หมักต่อจนครบ 15 วัน จึงเปิดออก กรองด้วยผ้าขาวบางโดยไม่ต้องบีบคั้นกาก นำน้ำสกัดชีวภาพที่กรองใส่ถังปิดไว้ให้แน่น และปล่อยให้ตกตะกอนอีก 2-3 วัน ระยะแรก ๆ สีของน้ำจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อย ๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้น (หากคั้นกากน้ำสกัดที่ได้สีจะขุ่นไม่น่าใช้ ส่วนกากที่เหลือสามารถนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ได้)
ถังที่หมักควรเก็บไว้นี่มีแสงน้อยภายในห้องหรือในที่ร่มอุณหภูมิปกติ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพชอบความมืดและต้องอยู่ในที่ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด 
การหมักจะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำแสดงว่าการหมักได้ผล เมื่อกวนลงไปฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม
วิธีใช้
ใช้ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน โดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาตามท้องตลาด การล้างจานจำนวนมากควรแช่ในน้ำยาผสมน้ำ อัตราส่วน 1
:5 แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง เพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน
น้ำยาเอนกประสงค์สามารถนำไปใช้ในการขจัดครบมันได้เป็นอย่างดี จากสองพลังบวก คือกรดเปรี้ยวจากน้ำผลไม้ซึ่งช่วยทำให้ไขมันแตกตัวและเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะย่อยคราบไขมันทำให้ไม่มีกลิ่นตกค้างเหม็นบูด อีกทั้งยังถนอมมือไม่ทำให้มือแห้งแตกหรือลอกเหมือนน้ำยาเคมีตามท้องตลาด ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายเหตุ
วัสดุที่ใช้แทนเปลือกสับปะรด ได้แก่ มะขามเปียก มะกรูด มะเฟือง กากกระเจี๊ยบที่ต้มน้ำแล้ว เปลือกมะนาว เปลือกส้ม เปลือกเสาวรส เปลือกส้มโอ หรือเปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ๆ เพราะมีสภาพเป็นกรดเหมือนสับปะรด ฤดูกาลไหน วัสดุใดมีราคาถูกก็ใช้วัสดุนั้น ตามหลักควรใช้เปลือก หลังจากหมักทำน้ำยาก็เอากากที่หมักแล้วไปทำปุ๋ย ไม่มีการทิ้งเปล่า การทำน้ำยาเอนกประสงค์จำนวนมากน้อยให้ใช้ตามสัดส่วนดังกล่าวข้างต้น
 
 

© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2548 โดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6  จังหวัดเชียงใหม่
เลขที่ 13 ถนนอารักษ์ ซอย 5 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

 









การทำน้ำยาสระผม สูตรอีเอ็ม-มะกรูด

อีเมล พิมพ์ PDF
วัตถุดิบ
1. มะกรูดแก่ ๆ 30 กก. สรรพคุณรักษารังแค
2. EM หัวเชื้อ 1.25 ลิตร สรรพคุณช่วยย่อย ป้องกันการบูดเสีย
3. น้ำตาลทรายแดง 1.25 กก. สรรพคุณเป็นอาหาร EM
4. น้ำสะอาด 1 ถัง ตั้งพักไว้ 1 คืน ให้หมดกลิ่นคลอรีน
5. ดอกอัญชัญตากแห้ง 700 กรัม สรรพคุณทำให้ผมดกดำ เงาเป็นประกาย ปลูกผม
6. ใบย่านางสด (เฉพาะใบ) 2 กก. สรรพคุณทำให้ผมนุ่มสลวย หวีง่าย (ประมาณ 20 ถุงๆ ละ 20 บาท)
7. N70 (ผงหนืด ประมาณ 3 - 4 กก.)
8. เกลือแกง หรือ เกลือสินเธาว์ (เกลือที่รับประทานได้ 1ถุงเล็ก)

อุปกรณ์
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาด 32 แกลลอน 1 ถัง
2. ผ้าขาวบาง 1 ผืน
3. ไม้พายอันใหญ่ 1 อัน สำหรับคนวัตถุดิบ
4. ตาชั่ง
5. ถ้วยตวง
6. มีด เขียง
7. กะละมัง

วิธีการทำ
1. การทำน้ำหมัก
1.1 นำมะกรูดทั้งลูกมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
1.2 นำ EM น้ำตาลทรายแดง ละลายให้เข้ากัน
1.3 นำวัสดุในข้อ 1.1 และ 1.2 ใส่ในถุงตาข่าย คลุกให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ให้ท่วมเนื้อมะกรูด ปิดฝาให้มิดชิด หมักทิ้งไว้ 1 เดือน จะได้น้ำหมักมะกรูด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้

ขั้นตอนก่อนผสม
1. นำดอกอัญชัญตากแห้งมาต้มเคี่ยวให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วกรองเอาแต่น้ำ หากต้องการผมดกดำ ให้เพิ่มปริมาณดอกอัญชัญ
2. นำใบหญ้านางสด เฉพาะใบมาหั่น ปั่นหรือตำ จากนั้นนำมาต้มเคี่ยวให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองเอาแต่น้ำ
วิธีการผสม
นำน้ำมะกรูดที่หมักได้มาเติมน้ำดอกอัญชัญ น้ำใบหญ้านาง โดยเติมทีละชนิดตามลำดับ ค่อยๆ กวนทีละชนิดให้เข้ากับน้ำหมักมะกรูด

ขั้นตอนการเติม N70 เติม N70 5% ของน้ำหมักมะกรูดที่ผสมกับน้ำอัญชัญ และใบย่านาง เช่น น้ำหมัก 1 กก. (1,000 กรัม หรือ 1,000 CC) เติม N70 50 กรัม หรือ 50 CC (ก่อนเติมให้กวน N70 ให้ละลาย โดยใส่เกลือผสมเล็กน้อยค่อยๆ กวนจนละลาย) ปล่อยทิ้งไว้จนฟองหาย ประมาณ 1 คืน จึงนำมาบรรจุขวด

วิธีการใช้ ก่อนสระผม ควรชโลมผมให้เปียกเสียก่อน เพื่อให้มะกรูดออกฤทธิ์เป็นกรดน้อยลง จากนั้นนำน้ำยาสระผมชโลมให้ทั่วหนังศีรษะและเส้นผม หมักทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำ โดยไม่ต้องใช้ครีมนวดผม

สรรพคุณ สระผมด้วยน้ำมะกรูดจะทำให้เส้นผมลื่นเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ ไม่หงอกเร็ว ไม่ร่วง
ช่วยบำรุงรากผมและหนังศีรษะไม่ให้เป็นรังแค ทำให้เส้นผมดกดำเป็นเงางาม มีน้ำหนัก หวีง่าย

โดยกลุ่มงานชีววิถี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร.02-436-3432
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.apichoke.com/index.php?topic=403.0
Joomlart






้ำหมักชีวภาพ ทำง่าย ประโยชน์เพียบ

น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สสส.

          ช่วงนี้เราอาจจะได้ยินชื่อ "น้ำหมักชีวภาพ" บ่อยขึ้น ว่าแต่เพื่อน ๆ รู้จักไหมว่า จริง ๆ แล้ว "น้ำหมักชีวภาพ" คืออะไร บริโภคได้หรือไม่ แล้วเราจะทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาใช้เองได้อย่างไร เอ้า...ตามมาดูกันเลย

          น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น "น้ำหมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

          ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

          ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

          ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

          ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

         ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

          เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

          ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง

          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้


น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ


วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น

          สูตรหนึ่งของการทำน้ำหมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ

          1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

          2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

          3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

          4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค

          เราอาจเคยได้ยินข่าวว่า มีคนนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป

          โดยประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพนั้น หากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำหมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตามท้องตลาด มักเป็นน้ำหมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกินแล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้น

          อย่างไรก็ตาม การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูลจาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่วางขายตามท้องตลาดมาตรวจสอบ พบว่า น้ำหมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือเมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้

          ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ "น้ำหมักชีวภาพ" มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด
 
 
 
 
 
 
 
1.ชื่อเรื่อง   การทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูด
2.ชื่อผู้ร่วมดำเนินการจัดการความรู้               
2.1  ชื่อผู้บริหาร  นายสมาน ขอดจันทึก  เกษตรอำเภอโนนสูง                
2.2  ชื่อสกุลผู้ดำเนินการ  นางสิริพร หมีทอง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว                
2.3  ชื่อสกุลผู้จดบันทึก  นางสาวอาจรี วิเศษศรี   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว                
2.4  ชื่อสกุลเจ้าขององค์ความรู้  นางถนอมสิน จูงกลาง บ้านเลขที่ 5  หมู่ที่ 6   ตำบลใหม่   อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
3.วันเดือนปี  ที่ดำเนินการจัดการความรู้    29  กรกฏาคม  2551
4.  สถานที่ดำเนินการจัดการความรู้  ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุม  หมู่ที่ 6  ตำบลใหม่  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา
5.   ส่วนนำ   มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 3 เมตร ในชนบทมีการปลูกมะกรูดเพื่อใช้สอยแทบทุกครัวเรือน ใบมะกรูดนำไปซอยหรือเด็ดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ปรุงรสในต้มยำ เปลือกผลมะกรูด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ตำรวมเป็นน้ำพริกแกง มะกรูดทั้งผลนำไปวางในห้องน้ำทำให้มีกลิ่นหอม    นอกจากนี้บางคนยังได้นำผลมะกรูดไปสระผมทำให้ผมสลวยสวยงาม  จากประโยชน์ที่ได้กล่าวมา  มะกรูดจึงเป็นพืชหนึ่งที่มีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เช่นเป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม  น้ำยาล้างจาน
6.  เนื้อหา 
      นางถนอมสิน  จูงกลาง ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2539 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง ได้เข้ามาส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การทำน้ำยาล้างจานสำหรับไว้ใช้ในครัวเรือน ต่อมาปี 2548 ได้รับการฝึกอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพโดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มาให้ความรู้ถึงประโยชน์ของสารที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรอีกหลาย ๆชนิด และรวมถึงประโยชน์จากผลมะกรูดที่สามารถนำมาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพใช้ทำน้ำยาล้างจานได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังจากการอบรมแล้วก็ได้นำความรู้มาปรับปรุงส่วนผสมการหมักผลมะกรูด  ต่อมาปัจจุบันก็ได้นำสูตรการหมักผลมะกรูด  มาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุมสำหรับจำหน่ายให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไป

น้ำหมักชีวภาพสูตรมะกรูด
ส่วนประกอบ
                1. มะกรูดแก่                         3              กิโกกรัม
                2. น้ำตาลทรายแดง              1              กิโลกรัม
                3. น้ำเปล่า                             10           ลิตร
วิธีทำ
                1. ใส่ตาลทรายแดง และน้ำลงไปในถังหมักคนให้ละลาย
                2. นำผลมะกรูดล้างให้สะอาด หั่นมะกรูดตามขวางหรือเป็นแว่น
                3. ใส่มะกรูดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 3 เดือน จึงนำมาใช้ได้
ข้อควรระวัง    ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดหรือถูกฝน
  
น้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูด
ส่วนประกอบ
                1. N70                                    1              ส่วน
                2. เกลือ                                  1              กิโลกรัมต่อน้ำ 2.5 ลิตร
                   (นำมาทำน้ำเกลือ โดยต้มน้ำเกลือ 1 ก.ก.ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พอเกลือละลายกรองเอาแต่น้ำสะอาด)
                3. น้ำหมักมะกรูด 1              ลิต ร+ น้ำ 6 ลิตร
วิธีทำ
                1. นำ N70 มาใส่ภาชนะ ใช้ไม้พายคนให้ละลายโดยคนไปทางเดียวกัน
                2. คอยใส่น้ำเกลือทีละน้อย ๆ พร้อมกับคนไปเรื่อย ๆ จนหมด
                3. เติมน้ำหมักมะกรูดเช่นเดียวกับเติมน้ำเกลือ พร้อมกับคนไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ฟองหมดจึงบรรจุใส่ขวด
ประโยชน์   ใช้ล้างจาน , ใช้ซักผ้า , ใช้ชะล้างอื่น ๆ

7. ส่วนสรุป : การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลมะกรูดก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่มีการพัฒนาวิธีการใช้ประโยชน์จากมะกรูดอย่างต่อเนื่อง การทำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนมาก นอกเหนือจากนำมาใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนทำให้มีรายได้เพิ่มและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีก  สำหรับเกษตรกรอีกหลาย ๆ คนจะลองหันมาทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักมะกรูดดูบ้างก็ไม่เป็นการผิดกติกาอย่างใด  ซึ่งถ้าหากสนใจผลิตภัณฑ์จากน้ำหมักมะกรูดหรือต้องการจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ นางถนอมสิน  จูงกลาง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดบ้านจันดุม หมู่ที่  6  ตำบลใหม่  อำเภอโนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 08-17899022









น้ำหมักชีวภาพ - สูตรทำน้ำด่างจากขี้เถ้า สูตรน้ำยาล้างจานมีฟอง

โดยชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน จ.สิงห์บุรี
 

น้ำยาเอนกประสงค์

ำยาซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ สูตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ราคาถูกมากๆ
        คุณ
เคยคำนวณบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละเดือนครอบครัวของเราจ่ายเงินไปเท่าไรในการซื้อผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ หรือน้ำยาทำความสะอาดสารพัดล้าง แล้วสินค้าที่เราซื้อมาใช้นั้นดีจริงอย่างที่เขาโฆษณาหรือเปล่า วันนี้เรามาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเองกันเถอะ มาทำผลิตภัณฑ์ดีๆ ราคาถูกมากๆใช้เองดีกว่า จะขอเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "น้ำยาอเนกประสงค์ สูตร 2 พลัง" ซึ่งใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก และมีพลังขจัดคราบมากเป็น 2 เท่า คือ ทั้งจากสารขจัดคราบ และ จากกรดในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้
  ส่วนผสม    1. EMAL 270 TH หรือ N 70 (หัวแชมพู)                           1     กก.
                  2. EMAL 10 P (ผงฟอง)                                           200    กรัม
                  3. Sodium chloride (ผงข้น)                                      500     กรัม
                  4. น้ำสะอาด                                                       10-11    กก.
                  5. NEOPELEX  F 50(สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)          500-700    กรัม
                      (ถ้าใช้สารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEX  F 24 ใช้        1    กก.)
                  6.น้ำหมักชีวภาพ(สูตรเนื้อมะกรูด)                                        2    กก.
                     (หรือจะใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทดแทนกันได้ เช่น สับปะรด มะเฟือง มะนาว ฯลฯ ดูข้อมูลการทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มเติมได้ในเรื่องผลไม้ลดโลกร้อน)
                  7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้)   


         วิธีทำ  
            1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกก้นเรียบใบใหญ่ๆในการผสม) 
            2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(ประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย
            3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดทีละน้อยๆพร้อมกับคนส่วนผสมให้ละลายเข้ากันไปเรื่อยๆ (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)            
            4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน  
            5. ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน(ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป
เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาได้นานเป็นปี โดยไม่เสียง่าย)
               
ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพมะกรูดที่หมักจนได้ที่แล้ว แต่ต้องการรีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้มแทนก็ได้  
ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวให้ท่วมเนื้อมะกรูด นำไปต้มจนเนื้อมะกรูดเปื่อยดี
แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ แต่การใช้น้ำมะกรูดต้มนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บได้นานประมาณ  1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้ 

            6.ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่
น้ำหอมเลย)
            7.ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(1 คืน)จึงกรอกใสภาชนะเก็บไว้ใช้

หมายเหตุ
 
       ความจริงแล้วน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆไปนั้น มี ส่วนผสม สูตร และวิธีทำคล้ายๆกัน อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น ชื่อของหัวแชมพู ชื่อของสารขจัดคราบ ปริมาณของส่วนผสม เพียงแต่น้ำยาฯ ที่ผลิตขายกันทั่วไปตามท้องตลาดนั้น จะใส่สีและกลิ่นให้ต่างกันออกไป จึงเรียกเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ ฯลฯ  ผู้ใช้จึงคิดว่าน้ำยาแต่ละชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดต่างกันด้วย และน้ำยาต่างๆที่ขายทั่วไปนั้น จะไม่มีส่วนผสมของสารชีวภาพแต่ใส่สีและกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ(ดูได้จากโฆษณา น้ำยา...กลิ่นมะกรูด กลิ่นมะนาว กลิ่นสตรอเบอรี่) 
       

      น้ำยาอเนกประสงค์สูตรที่ให้ไปนี้ สูตรเดียวสามารถใช้ได้ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ  ทำความสะอาดพื้น ขอแนะนำว่าน้ำยาอเนกประสงค์ที่เราทำใช้เองไม่จำเป็นต้องใส่สีเลย(ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้สารเคมี) และการทำน้ำยาสำหรับล้างจานไม่ควรใส่กลิ่น (ลดปริมาณสารเคมีตกค้าง) การทำน้ำยาซักผ้า อาจเลือกใช้กลิ่นที่ชอบและใส่เท่าที่คิดว่าหอมเพียงพอแล้ว  ส่วนการทำน้ำยาล้างรถ น้ำยาทำความสะอาดพื้น จะใส่กลิ่นหรือไม่ก็ได้  น้ำหอมแต่ละกลิ่นก็มีราคาถูก-แพงแตกต่างกัน (หรือจะทำสูตรเดียวโดยไม่ต้องใส่น้ำหอมเลย แล้วใช้ทุกอย่างก็ได้)   สำหรับการขจัดคราบที่สกปรกมาก อาจใส่สารขจัดคราบและน้ำหมักชีวภาพเพิ่มได้อีก แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะกัดมือ   และถ้าใส่น้ำหมักชีวภาพแล้วไม่จำเป็นต้องใส่สารกันเสีย เพราะน้ำหมักชีวภาพจะช่วยกันเสียได้ ตามสูตรนี้เมื่อผสมเสร็จแล้วจะได้น้ำยาประมาณค่อนถังสีพลาสติกใบใหญ่ ครอบครัวเล็กๆใช้ไปได้หลายเดือนเลย
การใช้น้ำยาอเนกประสงค์สูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับการซักผ้า
     
เพียงใส่น้ำยาฯลงในน้ำสะอาด(ปริมาณใกล้เคียงกับการใช้น้ำยาซักผ้าทั่วๆไป) แล้วผสมน้ำยาฯให้ละลายเข้ากันกับน้ำ นำผ้าลงแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที   จากนั้นก็ซักเหมือนกับการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไป แต่การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรชีวภาพนี้ มีข้อดีกว่าการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไปหลายประการ ดังนี้(ได้พิสูจน์มาแล้วทั้งด้วยตัวครูป้าเองและคนรอบข้าง)   1. ราคาถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า และทำได้เองในครัวเรือน
   2. ใช้ง่ายกว่าผงซักฟอก เพราะน้ำยาละลายน้ำง่ายกว่า
   3. ใช้ซักผ้าได้ทั้งแบบซักด้วยมือ และซักเครื่อง(จะไม่มีคราบแป้งขาวๆติดผ้า)
   4.
ขจัดคราบสกปรกได้ดี เบาแรงขยี้ ถนอมมือ
   5. ถึงแช่ผ้าทิ้งไว้ค้างคืน น้ำซักผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของแป้ง)
   6. เมื่อผ้าแห้งแล้วจะมีกลิ่นสะอาด ไม่เหม็นอับ
   7. แม้ตากผ้าไว้ในที่ร่ม หรือตากผ้าตอนกลางคืน ก็ไม่มีกลิ่นเหม็น
   8. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ไม่มีแสงแดด ตากผ้าไว้แล้วไม่แห้งภายในวันเดียวผ้าก็ไม่เหม็นอับ
   9. เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วจะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าที่ซักทั่วๆไป(น้ำหมักชีวภาพจะช่วยยับยั้งกลิ่นเหม็น)
  10. ถนอมเส้นใยผ้า เสื้อผ้าไม่เก่าเร็ว
  11. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เมื่อนำไปรดต้นไม้จะโตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย
  12. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของโซดาไฟ,สีสังเคราะห์)
 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]


 อ้างอิง

  1. ^ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช






ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก




ประโยชน์จากไม้ไผ่








มหัศจรรย์ไม้ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

 สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]


อ้างอิง

  1. ^ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ                                                              (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

เนื้อหา


[แก้] ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

[แก้] ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น