วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำหมักชีวภาพจากพืชสด

น้ำหมักชีวภาพจากพืชสด
ส่วนผสม


เศษผัก          3  กิโลกรัม
กากน้ำตาล   1  กิโลกรัม

วิธีทำ

นำผักหรือเศษผักที่เราจัดเตรียมใส่ภาชนะ เช่น โอ่งหรือถังพลาสติกพักไว้
นำกากน้ำตาลมาคลุกเคล้าผสมกับเศษผักตามอัตราส่วนที่กำหนด หรือจะเพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้นก็ได้ตามต้องการ
แล้วหมักทิ้งไว้ โดยหาของหนักกดทับไว้
หมักนานประมาณ 7-10 วัน น้ำหมักจะเริ่มออกเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่น  หอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมักมีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นบูด แปลว่าน้ำตาลไม่พอให้ใส่เพิ่มกอกน้ำตาลลงไปอีกกลิ่นบูดจะค่อย ๆ หายไป
หมักต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อมีน้ำหมักออกมาให้ตวงใส่ขวดหรือใส่ภาชนะอื่น  เก็บไว้  เก็บในที่มืดในห้องธรรมดา จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน – 1 ปี ในกรณีที่มีการเก็บไว้หลาย ๆ วัน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวภายในภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือน้ำ นั่นคือการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้สักครู่  ฝ้าขาวจะสลายตัวลงไปอยู่ภายในน้ำหมักตามเดิม





ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)


การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์
เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นที่เรียบ ๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)
ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นซีเมนต์
กระสอบป่านเก่า ๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว
ถังฝักบัวรดน้ำ
พลั่วจอบ
ส่วนผสม
เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน  ฟาง  เปลือกถั่ว  แกบลเผา  ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียว หรือหลายอย่างผสมกันโดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)
แกลบ  10  ปี๊บ
มูลสัตว์  10  ปี๊บ
รำอ่อน  1  ปี๊บ
น้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างน้อย 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว
วิธีผสม
นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากัน  แล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลรดให้ทั่ว
เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อย ๆ (โดยผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลตามสัดส่วนที่กำหนดในน้ำแต่ละถัง) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย
ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลวม ๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้
เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด
ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาว ๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน
ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่งแล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม
อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีกเมื่อปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้


ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคแมลงและศัตรูพืช

มูลสัตว์  1  ส่วน
แกลบเผา  1  ส่วน
รำละเอียด  1  ส่วน
น้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างน้อย 2 ช้อนแกง
น้ำ  10  ลิตร
วิธีผสม
ผสมมูลสัตว์  แกลบเผาและรำละเอียดเข้าด้วยกัน
นำน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน   ทิ้งไว้ 3-5 วัน  โดยไม่ต้องกลับ  เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช  พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทานเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วย
ส่วนผสม
น้ำหมักพืช 1 ขวด
กากน้ำตาล 1 ขวด
เหล้าขาว 1 ขวด
น้ำส้มสายชู 1 ขวด
น้ำสะอาด 10 ขวด


วิธีผสม

นำกากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายแล้วใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากัน
ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)
ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวัน เช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายก๊าซออก
ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว
วิธีใช้
นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น    (ใช้บ่อย ๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น
พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจางลง
หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่น สะเดา  ข่า  ตะไคร่หอม  ยาสูบ  โดยนำน้ำแช่สมุนไพรใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง    (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


วิธีผสม


ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา  แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม  หนอนชอนใบ ฯลฯ  โดยใช้สันส่วน  หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ     200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม
ใช้กำจัดเห็บ  หมัดในสัตว์เลี้ยง
ใช้กำจัดเหา  โดยเอาน้ำราดผมให้เปียก  แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้น  ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที  แล้วล้างออกให้สะอาด


ส่วนผสม

กล้วยน้ำว้าสุก  ฟักทองแก่จัด  มะละกอสุก  อย่างละ 1 กิโลกรัม
น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล อย่างละ 1  ช้อนแกง
น้ำสะอาด  5  ลิตร
วิธีผสม
สับกล้วย  ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด
ผสมน้ำหมักพืช  กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน
นำส่วนผสมข้อ 1 และข้อ 2 คลุกเข้ากันให้ดี
บรรจุลงในถุงปุ๋ย  หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 7-8 วัน
วิธีใช้
นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแก้ง ต่อน้ำ     5 ลิตร
ใช้ฉีดพ่นหรือรดน้ำต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี
ส่วนที่เป็นไขมันเหลือง ๆ ในถังปุ๋ยให้ทากิ่งตอน  กิ่งปักชำ  กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
นาข้าว ในพื้นที่ 1 ไร่  ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้
ไถพรวน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กิโลกรัม (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว
ผสมน้ำหมักพืช 2 แก้ว  กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน  ทิ้งไว้ 15 วัน  เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว
หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด
ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราดเพื่อดำนาต่อไป
ไถคราด
å พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง
å ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
หลังปักดำ 7-15 วัน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
ข้าวอายุ 1 เดือน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว


ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
การป้องกันศัตรูพืช
ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น
หมายเหตุ
ต่อพื้นที่ 1 ไร่  จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก  แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้ว  ปีต่อ ๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ  แต่ในช่วงปีต่อ ๆ ไป ปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อย  ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและเพิ่มปริมาณผลผลิต


วิธีใช้


โรยปุ๋ยชีวภาพ  2  กำมือ ต่อพื้นที่  1  ตารางเมตร  เอาหญ้าหรือฟางแห้ง  คลุมทับ
รดด้วยน้ำผสมกับน้ำหมักพืช  อัตราส่วน 1 ช้อนแกง  ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้   7 วัน จึงลงมือปลูก
โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบ ๆ ทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง
รดน้ำผสมน้ำหมักพืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ   1-2 ครั้ง
ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง  กากน้ำตาล (เพื่อช่วยจับใบ) ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีศัตรูพืชระบาด
ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม  โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ  คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน  รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง
เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว  ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ          2 กิโลกรัมต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะ ๆ


การเลี้ยงสุกร
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร  กากน้ำตาล 1 ลิตร  น้ำสะอาด 100 ลิตร  ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท  หมักทิ้งไว้ 3 วัน
วิธีใช้
ทำความสะอาด
นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก  จะกำหนดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ทำซ้ำทุกสัปดาห์  น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์
ผสมอาหาร
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5-20 ถังแดง (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง  มีความต้นทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย
ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำหมักพืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะรักษาอาการได้
หมายเหตุ
กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำหมักพืช        กากน้ำตาล  กับน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน

วีธีใช้


ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน  จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง  ไข่ดก  น้ำหนักดี  อัตราการตายต่ำ  และมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น
ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำ  ฉีดพ่นตามพื้นเพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซและกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย
โดยใช้สาร  พ.ด.1
พ.ด.1  มาจากคำว่า  “พัฒนาที่ดิน 1”  เป็นสารเร่งที่ประกอบด้วยเชื้อรา  แบคทีเรีย และแอคติโนมัยซีส  รวมถึงสารอาหารหลายชนิด อยู่ในลักษณะแห้ง สะดวกในการนำไปใช้และเก็บรักษา  ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านนี้สามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  จะประหยัดเวลาในการทำปุ๋ยหมักและได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี  โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นเชื้อจุลินทรีย์พวกที่ทำการย่อยสลายเศษพืชได้ดี  เมื่อกองปุ๋ยหมักมีความร้อนสูง    จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในกองปุ๋ยหมักได้ด้วย
ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก
เศษพืชแห้ง 1,000  กก. (1 ตัน หรือประมาณ 8-10 ลูกบาศก์เมตร)
มูลสัตว์ 200  กก.
ยูเรีย 2  กก.
สารเร่ง พ.ด.1   150  กก. (1 ถุง)
วิธีการกอง
ชั้นแรกเป็นเศษพืชผัก  ฟางข้าว  ขุยมะพร้าว  กากอ้อย แกลบ  เศษหญ้า ฯลฯ
ชั้นที่ 2 ก็โรยมูลสัตว์ (ปุ๋ยคอก) บาง ๆ ให้ทั่วบริเวณ
ต่อจากนั้นก็โรยยูเรียบาง ๆ ให้ทั่ว
โรยสารเร่ง  พ.ด.1 ให้เต็มบริเวณบนกอง
คลุมด้วยดินหรือดินร่วนที่หาได้ บริเวณใกล้ ๆ กันกองปุ๋ยหมักไว้


การปฏิบัติและดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
ควรมีการรดน้ำกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้ความชื้นภายในกองปุ๋ยหมักมีความเหมาะสมประมาณ 50-60% (โดยน้ำหมัก)  และควรกลับกองปุ๋ยหมัก  ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยหมัก
หลักการพิจารณากองปุ๋ยหมักที่ใช้แล้ว
ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้มีข้อสังเกตง่าย ๆ ดังนี้
สีของปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลเข้มดำ
ลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืช เมื่อบี้ดูเศษจะอ่อนนุ่มยุ่ยง่านไม่แข็ง
อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักไม่สูง หรือใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก
ต้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อนำมาใช้  แสดงว่าปุ๋ยหมักย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว


การใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


ชนิดพืช อัตราปุ๋ยหมัก อัตราปุ๋ยเคมี,    สูตรปุ๋ย วิธีการใช้
ข้าว 2-4 ตัน/ไร่ 15-30 กก./ไร่
16-20-0, 18-22-0
20-20-0, 16-16-8 หว่านทั่วพื้นที่ แล้วไถกลบก่อนการปลูกพืช
พืชไร 2-4 ตัน/ไร่ 25-50 กก./ไร่
16-20-0, 18-22-0
10-5-4 ใส่เป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
ไม้ผล - ไม้ยืนต้น 20-50 กก./หลุม 100-200 กรัม/หลุม
15-15-15, 14-14-14
12-12-7 ใส่ปุ๋ยหมักตอนเตรียมหลุมปลูก  โดยคลุกเคล้ากับดินแล้วใส่ก้นหลุม
พืชผัก 4-6 ตัน/ไร่ 40-50 กก./ไร่
15-15-15, 13-13-21
20-10-10 หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนการปลูกพืช

เศษอาหารจุลินทรีย์มหัศจรรย์ดับกลิ่นทําปุ๋ยชี้ช่องทางแก้จน

                                           เศษอาหารจุลินทรีย์มหัศจรรย์ดับ                    กลิ่นทําปุ๋ยชี้ช่องทางแก้จน

เมื่อพูดถึงเศษอาหาร โดยทั่วๆไปเรามักจะมองว่าเป็นของเหลือที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงถูกทิ้งไปกับขยะอื่นๆ เศษอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะจะเป็นภาระต่อสภาพแวดล้อมขึ้นทุกวัน การกินอาหารไม่ให้เหลือ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารน้ำหรือกับข้าว จึงเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง โดยทั่วๆไป เรามักจะรังเกียจเศษอาหารในครัวหรืออาหารเหลือทิ้งจากโต๊ะอาหาร เพราะเมื่อเกิดเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น เรากลัวว่าจะเป็นที่มาของเชื้อโรคต่างๆที่ทำให้เจ็บป่วยได้ อันนั้นก็มีความจริงอยู่ แต่ท่านทราบไหมว่า เศษอาหารที่เน่าเปื่อยนั้นเกิดจากสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่เราเรียกรวมๆ ว่า จุลินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย แบคทีเรีย รา ยีสต์ จุลสาหร่าย โปรโตซัว และอื่นๆ ที่มาย่อย หรือทำปฏิกิริยากับเศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

จุลินทรีย์นั้นมีทั้งในดิน ในน้ำ ในอากาศ ในอาหาร รวมทั้งในอวัยวะต่างๆของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ  พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์เราด้วย แต่จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ มีประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มีความสำคัญอันยิ่งใหญ่ต่อวงจรชีวิตในทุกสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างภาวะสมดุลให้ชีวิตในธรรมชาติ จนกล่าวได้ว่าการดำเนินชีวิตของสิ่งต่างๆบนโลกใบ นี้ขาดจุลินทรีย์ไม่ได้เลย ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆถึงวงจรชีวิตของสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่ เช่น จุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเป็นอาหารของสัตว์เล็กๆ สัตว์เล็กๆเป็นอาหารของกุ้ง หอย ปู ปลา กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นอาหารของมนุษย์ ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ในน้ำบางชนิดจะทำหน้าที่กำจัดคราบน้ำมัน หรือของเสียที่ปล่อยทิ้งออกมาจากบ้านหรือโรงงาน ส่วนจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดิน มันจะช่วยย่อยสลายขยะ ซากสิ่งมีชีวิต และของเสียจากอุตสาหกรรมให้กลายเป็นผุยผง

จุลินทรีย์บางชนิดตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชได้ใช้จุลินทรีย์ บางชนิดใช้ในการกำจัดศัตรูพืช บางชนิดอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร ของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารประเภทหญ้าและฟางข้าวที่สัตว์กินเข้าไป สำหรับมนุษย์เอง ในชีวิตประจำวันเรามักได้ข่าวจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา ฯลฯ ในแง่ร้ายๆ บ่อยๆ จนไม่ได้พูดถึงประโยชน์จากจุลินทรีย์ตัวที่เป็นพระเอกซึ่งมีอยู่มากมายเช่นกัน อย่างที่หลายๆคนอาจคิดไม่ถึง ทั้งในด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมต่างๆ การแพทย์(ยาปฏิชีวนะ)และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มประเภทหมักดองนานาชนิดที่เรากินกันอยู่ อาทิเช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เต้าหู้ยี้ ถั่วเน่า แหนม เนยแข็ง แป้งข้าวหมาก ผักดอง ขนมปัง ปาท่องโก๋ วุ้นมะพร้าว น้ำส้มสายชู โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เบียร์ ไวน์ เป็นต้น เล่ามาถึงตรงนี้คิดว่าหลายคนคงมีความรู้สึกที่ดีกับจุลิน-ทรีย์ทั้งหลายกันมากขึ้น ว่าที่แท้ก็ใกล้ชิดกันมานานแล้วโดยไม่รู้

จะว่าไปแล้วตอนนี้ "จุลินทรีย์" ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ "กระแสธรรมชาติ" ที่กำลังได้รับความสนใจจากคนหลายๆ กลุ่ม และมีการพยายามที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเกษตรกรที่ไม่ต้องการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูก ซึ่งเมื่อหันมาใช้การหมักขยะจากเศษอาหารหรือเศษผักผลไม้ตามกระบวนการแล้ว และเมื่อนำเอาน้ำจุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักไปรดน้ำต้นไม้ ปรากฏว่าต้นไม้เจริญเติบโตแข็งแรง ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากจะเชิญชวนให้บรรดาเกษตรกรทั้งหลายที่ยังใช้สารเคมีกันอยู่ ได้ทดลองนำเอาวิธีการหมักน้ำจุลินทรีย์จากเศษพืชผักผลไม้ที่เหลือหรือเศษอาหารที่เรากินนำไปทดลองใช้กันดูบ้าง เพราะนอกจากจะประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยไปได้เยอะแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็ปลอดสารพิษ บริโภคปลอดภัย ขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว

สำหรับคนเมืองหรือคนกรุงเทพฯ อย่างเราๆท่านๆ ที่ไม่ได้ทำอาชีพเกี่ยวกับการเพาะปลูก ก็สามารถนำเอาน้ำจุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้เช่นกัน นั่นคือ นำน้ำจุลินทรีย์มาใช้กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องส้วม ท่อระบายน้ำ แก้ปัญหาส้วมเต็มเร็ว ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัยได้ผลชะงัดจริงๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่แพ้สารดับกลิ่นที่ทำมาจากสารเคมีใส่กลิ่นหอมชนิดต่างๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่าขยะที่หมักจากเศษผักผลไม้ล้วนๆ และขยะที่หมักจากอาหารเนื้อสัตว์หรือสารพัดขยะจากในครัว กลิ่นที่ออกมาก็จะแตกต่างกัน นั่นคือ ขยะจากสารพัดอาหาร กลิ่นจะฉุนรุนแรงแตกต่างจากผักผลไม้ทั้งนั้น เพราะในเนื้อสัตว์จะมีกรดยูเรียอยู่มาก การหมักขยะเพื่อให้ได้น้ำจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรหรือกำจัดกลิ่นนั้น ถ้าใครขยัน ใจเย็นพอ และรอคอยได้ก็น่าจะทดลองทำดูตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น จนถึงขั้นที่ต้องวางทิ้งไว้ตั้งแต่ ๓ เดือนเป็นต้นไป จึงจะนำเอาน้ำที่ได้มาใช้ประโยชน์ ก็น่าทดลองดู ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาและสนใจอยากทดลองใช้น้ำจุลินทรีย์ดูบ้าง ก็มีวิธีสำเร็จรูปอยู่เหมือนกัน นั่นคือ ไปซื้อหัวเชื้อที่เขาทำขาย แล้วมาหมักต่ออีกเพียงไม่กี่วันก็นำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการได้ หัวเชื้อที่ซื้อมาหรือจากที่เราลงมือหมักเอง เมื่อถึงกำหนดใช้การได้แล้ว ก็สามารถแบ่งเอาไว้เป็นหัวเชื้อขยายต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่รู้จบ น่าสนใจนะ

จุลินทรีย์ คืออะไร
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำพวกแบคทีเรีย รา ยีสต์ จุลสาหร่าย โปรโตซัว เห็ด และไวรัส ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องจึงจะมองเห็น ในปี ค.ศ. ๑๖๗๗ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค ได้ประดิษฐ์คิดค้นกล้องจุลทรรศน์ขึ้นเป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก และนั่นทำให้มนุษย์เราได้รู้จักว่าบนโลกนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากพืชและสัตว์ จุลินทรีย์ที่มองเห็นเป็นครั้งแรก     ได้แก่ โปรโตซัว สาหร่าย ยีสต์ และแบคทีเรีย จวบจนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๘๕๗ มนุษย์เราจึงได้เริ่มเรียนรู้ว่า จุลินทรีย์มีคุณและโทษอย่างไร เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ ศึกษาพบว่าจุลินทรีย์นี่แหละเป็นตัวการในกระบวนการหมักเหล้าองุ่นและกรดแลกติก ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ก็เป็นสาเหตุการเน่าเสียของเหล้าองุ่นด้วย จากการค้นพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ในครั้งนั้น ทำให้มีการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อมาอีกเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น มีการค้นพบแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ (anthrax) โดยโรเบิร์ท ค๊อก ในปี ค.ศ. ๑๘๗๖ และมีการค้นพบแบคทีเรีย Rhizobium ที่มีประโยชน์ในด้านเกษตร โดย Beijerlnck ในปี ค.ศ. ๑๘๘๘ เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
แบคทีเรีย ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการนำแบคทีเรียบางชนิดมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตหลายอย่าง อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร (ทำน้ำซีอิ้ว ถั่วเน่า เต้าหูยี้ น้ำส้มสายชู แหนม วุ้นมะพร้าว) อาหารนม (โยเกิร์ต นมเปรี้ยว) สารเคมี (แอลกอฮอล์) กรดอินทรีย์ (กรด อะซิติก กรดแลคติค) กรดอะมิโน (กรดกลูตามิค แอลไลซีน) เอนไซม์ (อมิเลส เซลลูเลส กลูโคส ไอโซเมอเรส) วิตามิน (วิตามินบี ๑๒) ยาปฏิชีวนะ (คานาไมซิน) ยาฆ่าลูกน้ำยุง การวิเคราะห์ทางจุลชีวะ (วิเคราะห์ยาปฏิชีวนะ วิเคราะห์วิตามินบี ๑๒) ด้านสิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน)

ยีสต์ มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น ด้านอาหาร (ทำน้ำซีอิ๊ว ยีสต์โปรตีน ขนมปังปอนด์) เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ (เบียร์ วิสกี้ ไวน์ สาโท) หัวเชื้อ (ลูกแป้ง) สารเคมี (แอลกอฮอล์) เอนไซม์ (อมิเลส อินเวอร์เทส) กรดอินทรีย์ (กรดซิตริก) สิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน)

รา ถึงแม้ว่าราจะมีบทบาทในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์ เช่น ทำลายอาหาร เสื้อผ้า สินค้าต่างๆ และเป็นจุลินทรีย์กลุ่มใหญ่ที่ก่อ  ให้เกิดโรคกับมนุษย์ สัตว์ และทำลายพืชผลทางการเกษตร แต่ราก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน อาทิเช่น ทำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (สาโท) อาหาร (น้ำซีอิ๊ว) เอนไซม์ (อมิเลส กลูโคอมิเลส เซลลูเลส เพคติเนส) กรดอินทรีย์ (กรดแลกติก กรดซิตริก) กรดอะมิโน (กรดกลูตามิก) การวิเคราะห์ทางจุลชีวะ (ใช้ทดสอบสารโพลิเมอร์) ด้านสิ่งแวดล้อม (สลายคราบน้ำมัน กำจัดสีของกากน้ำตาล)

เห็ด เห็ดที่กินได้ จะมีเนื้ออ่อนนุ่มหรือกรอบกรุบน่ากิน มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ชนิดของเห็ดที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นการค้าก็คือ เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เท่าที่มีรายงานพบว่าในเมืองไทยเห็ดที่กินได้มีมากกว่า ๗๐ ชนิด สำหรับเห็ดมีพิษนั้นให้สังเกตว่าจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงเมื่อดอกบานเต็มที่

จุลสาหร่าย สาหร่ายที่เป็นที่รู้จักกันดี และนิยมนำมากินเป็นอาหาร ได้แก่ ไข่หินหรือดอกหิน ไข่น้ำ ผักไกหรือเทา ผักกูด และสาหร่ายไฟซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายอีกหลายชนิด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น เป็นอาหารเสริมสุขภาพ อาหารสัตว์ ปุ๋ยชีวภาพ และเคมีภัณฑ์


ประสบการณ์จริงของผู้ใช้จุลินทรีย์
คุณฝากฝน หมายยอดกลาง อาชีพเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว  อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
เคยไปที่ศูนย์คิวเซที่สระบุรี แต่ไม่ได้ทำจริงๆจังๆ เพราะตอนนั้นขายอาหาร ได้แต่ศึกษาเป็นข้อมูลและค้นคว้ามาเรื่อยๆ จนมาลงมือทำเกษตรจริงๆจังๆ เมื่อต้นปี ๒๕๓๗ เป็นเกษตรธรรมชาติ ใช้แต่ปุ๋ยคอก และเศษวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ของเราเองก็ประมาณ ๔๐ ไร่ค่ะปลูกผสมผสาน ทั้งไม้ป่าไม้ผลหลายชนิด จนมาใช้จุลินทรีย์จริงๆจังๆกับไม้ผล เมื่อปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ นี่เอง สังเกตว่าใช้กับผักได้ผลดี ต้นพืชโตเร็ว งอกงาม แข็งแรง ส่วนไม้ผลมันก็จัดสรร ดูแล เติบโตตามธรรมชาติอยู่แล้ว พอใช้จุลินทรีย์ก็แข็งแรงมากขึ้น ที่บ้านจะใช้จุลินทรีย์ในครัวเรือน ในเรื่องสุขภาพ และการเกษตร

วิธีทำจุลินทรีย์ที่ใช้ในการเกษตร ใช้ขบวนการหมักขยะ ๓ ส่วน (เศษอาหาร ผักสด ผลไม้สด ยกเว้นพลาสติก และกระดาษ) ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน อัตราส่วนถ้าเป็นกิโลกรัมก็ใช้อัตราส่วนเดียวกันหมดโดยน้ำหนัก ใช้เวลาหมักประมาณ ๓ เดือน โดยใส่ภาชนะพลาสติกเนื้อหนาชนิดดี ที่มีฝาปิด ใช้โอ่งปูนไม่ได้มันจะกัด เพราะในขบวนการหมักจะเกิดกรดน้ำส้ม พวกกรดอะซิตริก ที่กัดพวกปูน พวกดิน เวลาหมักให้วางในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด ในอาทิตย์แรกๆ ถ้าเปิดดูจะเห็นฝ้าขาวในถัง บางคนถ้ากะสัดส่วนผิดพลาด จะมีกลิ่นเหม็นตุๆ แต่ไม่เป็นไร เติมน้ำตาลเพิ่มอีกได้ แล้วปิดฝา พวกนี้จะไม่มีการเสีย เพราะเป็นการทำงานของจุลินทรีย์อยู่ตลอดเวลา
 พอครบกำหนดก็กรองเอาน้ำนั้นออกมาใช้ น้ำที่ได้จะมีกลิ่นหอม สีน้ำตาลแดงๆ เวลาจะใช้รดต้นไม้ ใช้ผสมน้ำ ๑ ต่อ ๑๐ ลิตร ซึ่งควรจะรดน้ำตอนเช้าหรือตอนเย็นที่ยังไม่มีแสงแดด จุลินทรีย์ที่ได้ถ้าหมักไปนานๆจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น หมายถึง ๓ เดือนเอาออกมาใช้แล้วใส่ขวดทิ้งไว้ สำหรับส่วนที่เหลือจากการกรองเอามาใช้ ถ้า จะเพิ่มขยะก็ใช้สัดส่วนเดิมที่ให้ไว้ หรือไม่ก็โกยเอาขยะ เก่าออกมาแล้วไปใส่ต้นไม้ได้เลย ที่บ้านจะเอาไปใส่ไม้ผล ส่วนน้ำที่กรองเอามาตัวมันเองเก็บไว้ได้นาน ยิ่งนานยิ่งดี เพราะเกิดเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การใช้ในครัวเรือน ก็เอาน้ำที่ได้แล้วมาแยกกลิ่นให้หอมขึ้น โดยเอาน้ำมาหมักกับผลไม้ตระกูลส้ม แล้วใส่น้ำตาลเพิ่มไปอีก สัดส่วนน้ำจุลินทรีย์ที่หมักได้ ๑ ส่วนต่อน้ำตาล ๑ ส่วน น้ำอีก ๑๐ ส่วน แล้วเอาเปลือกผลไม้ตระกูลส้มใส่ลงไป ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน ก็เอาไปใช้ขัดห้องน้ำ ขัดพื้น วิธีนี้ใช้มาตั้งแต่ครั้งแรกที่ทดลองทำ รู้สึก ได้ผลดี ส้วมก็เต็มช้า ไม่มีกลิ่น ขัดพื้นได้ทุกชนิด ทดลองมาแล้ว ถ้าเอามาใช้ในเรื่องสุขภาพ จะหมักด้วยน้ำผึ้ง จะเลือกผลไม้ที่ดีไร้สารพิษ พวกเสาวรส สตรอเบอรี ฝรั่ง มะเฟือง มะม่วง คือ ผลไม้อะไรก็ใช้ได้ทุกชนิด ถ้าเป็นกล้วย มะม่วง ต้องปอกเปลือกก่อน สัดส่วนที่หมัก ๑ : ๑ : ๑๐ ผลไม้ ๑ ส่วน น้ำผึ้ง ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน ภาชนะที่ใช้ควรเป็นขวดใส เพื่อจะได้ดูการทำงานของจุลินทรีย์ว่ามันมีปฏิกิริยาอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วถ้าจะให้มีประสิทธิภาพต้องหมักเป็นปี ตัวเองเพิ่งจะมาทดลองในเรื่องสุขภาพเมื่อต้นปีนี้เอง จุลินทรีย์ที่นำมาใช้มีหลายอายุ ๓ เดือน ๑ ปีก็มี คือ จะได้หัวเชื้อมาจากที่อื่นอายุ  ๓ ปี เอามาหมักต่ออีก ๓ เดือน เมื่อได้ที่แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใช้กินเป็นยา มันจะช่วยในเรื่องระบบการย่อยไม่ให้ท้องอืด แก๊สในท้องลดลง ช่วยในเรื่องกลิ่นปาก ใช้แปรงฟันได้ด้วย โดยเอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำแล้วมาแปรง ซึ่งรสชาติและกลิ่นจะแล้วแต่ผลไม้ที่เราใช้หมัก

กำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ แก้ปัญหาส้วมเต็ม ด้วยน้ำหมักจากเศษอาหาร

หลายคนคงซาบซึ้งดีว่ากลิ่นเหม็นจากท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ เวลาที่มันโชยมาตามลมนั้น เหม็นขนาดไหน ซึ่งโดยปกติแล้ว คนทั่วไปมักจะซื้อน้ำยาดับกลิ่น(ที่เป็นสารเคมี) ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมาเทราดในโถส้วมหรือท่อน้ำทิ้ง ซึ่งก็สะดวกสบายง่ายดี กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ก็หมดไปได้ หรือหากมีปัญหาส้วมเต็ม ก็เรียกใช้บริการรถดูดส้วมสาธารณะได้ทั่วไป (เงินออกจากกระเป๋าไปอีกแล้ว) วันนี้เรามีวิธีกำจัดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ท่อน้ำ หรือแก้ปัญหาส้วมเต็มด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติมาบอกเล่าให้ทดลองปฏิบัติกันดู นั่นคือการเทน้ำจุลินทรีย์ ที่ได้จากการหมัก(เศษอาหาร เศษผักผลไม้) ลงไปในโถส้วม หรือท่อน้ำทิ้งบ่อยๆ กลิ่นเหม็นก็จะหายไปเป็นปลิดทิ้ง ส้วมที่เต็มจะค่อยๆยุบตัวลง ที่ยังไม่เต็มก็จะไม่มีโอกาสเต็มเลย เพราะจุลินทรีย์ ตัวเก่งจะไปทำหน้าที่ย่อยสลายกากอาหาร(อุจจาระ) เศษกระดาษ หรือของเสียที่หมักหมมอยู่ในบ่อพักให้ย่อยสลายและเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวได้เร็วขึ้น

ที่น่าสังเกต คือ เวลาที่เราแก้ปัญหาห้องน้ำหรือท่อมีกลิ่นโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมี กลิ่นที่ไม่ต้องการอาจจะหายไปได้ แต่ว่าส้วมเต็มเร็วหรือตัน  ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสารเคมีและผงขัดต่างๆ จะไปทำลายจุลินทรีย์ในธรรมชาติให้ตายหรืออ่อนแอลง ดังนั้นการที่จุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยย่อยของเสียต่างๆ จึงช้าและไม่ทันกับปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้น ท่อจึงตัน ส้วมจึงเต็มได้ง่าย เพราะฉะนั้น ถ้ายังใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำที่เป็นสารเคมีอยู่การใช้น้ำจุลินทรีย์เพื่อแก้ปัญหากลิ่นเหม็นหรือส้วมเต็ม จะต้องใช้บ่อยๆและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ในกรณีที่ไม่มีการใช้สารเคมีในห้องน้ำเลย การใช้น้ำจุลินทรีย์เพื่อกำจัดกลิ่นก็ไม่จำเป็นต้องใช้มากและบ่อยๆ นอกจากนั้น น้ำจุลินทรีย์ยังใช้ขัดทำความสะอาด ห้องน้ำได้อีกด้วย โดยใช้น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน ผสมน้ำ ๒ ส่วน ราดให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก ๕ นาที แล้วค่อยขัดถู ถ้าเป็นพื้นเซรามิกจะเงางาม ไม่ด่าง ไม่กัดมือกัดเท้า และไม่ต้องสูดกลิ่นสารเคมีอีกด้วย
สถานที่ขอคําแนะนําเพิ่มเติม
ถ้าหากทดลองหมักขยะดูด้วยตนเองแล้วเกิดปัญหาไม่ เป็นไปตามที่แนะนำเอาไว้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมทั้งซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์ได้ดังที่อยู่ต่อไปนี้

๑.  สหกรณ์เลมอนฟาร์ม (จำหน่ายจุลินทรีย์ดับกลิ่น)
๑๘๕ ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐๒-๙๓๔-๗๗๒๑-๓

๒.  สหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อน
๗๐/๒๙๔ หมู่ที่ ๕ ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐ โทร. ๐๒-๓๗๙-๒๕๕๘ (สั่งซื้อ)

๓. บ้านสุขภาพ
๕๒๕/๓๙๓ หมู่บ้านพรสว่าง ซ. ๙ สุขุมวิท ๑๐๙ สำโรงเหนือ กรุงเทพฯ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔-๔๒๖๗, ๐๒-๗๕๔-๑๘๓๗,(๐๘๑) ๔๓๖-๗๕๑๗ (สอบถาม, สั่งซื้อ)

๔. ศูนย์เศรษฐกิจชุมชนบุญนิยม
๔๔๕/๑๕ ถนนรามคำแหง ๓๙ แขวงวังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐๒-๗๑๘-๔๕๒๗

๕. กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว
๑๔ หมู่ ๑๑ บ้านน้ำซับ ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ๓๐๓๗๐ โทร. (๐๘๑) ๙๖๖-๔๒๔๗ (สอบถาม)

๖.  ศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติ
๙๐ หมู่ ๑ ต.ชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ๑๘๒๖๐ โทร. (๐๘๑) ๒๑๓-๙๓๘๗

๗.  ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
๑๑๔ หมู่ ๑ บ้านมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ราชบุรี โทร. (๐๘๑) ๖๑๘-๔๐๓๕
หน่วยงานใดที่ศึกษาหรือจำหน่ายหัวเชื้อจุลินทรีย์ เชิญส่งที่อยู่มาประชาสัมพันธ์ที่สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านได้ค่ะ

วิธีทำน้ำจุลินทรีย์ (สูตร ๑)
วัสดุที่เตรียม
๑. ผัก ผลไม้ หรือข้าวสุก
๒. น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล
๓. ภาชนะขนาดตามต้องการที่สามารถหาอะไรมาปิดได้
๔. น้ำ
วิธีทำ
๑. ล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาด แล้วหั่นเป็นท่อนๆตามต้องการ
๒. นำน้ำตาลทรายแดงมาคลุกเคล้าในอัตราส่วน ๑:๒ คือ ผักและผลไม้ ๒ ส่วน ใช้น้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน
๓. หมักไว้ ๗-๑๐ วัน แล้วเติมน้ำ ๑๐ ส่วน
๔. หมักอีก ๑ เดือน ก็ใช้ได้ แต่ ๓ เดือนจะใช้ได้ดี
๕. หมั่นดูทุก ๓-๕ วัน และคน จะทำให้ใช้ได้เร็ว
๖. ตักน้ำชุดแรกหมดแล้ว เติมน้ำอีก ๑๐ ส่วน     น้ำตาลทรายแดงอีก ๑ ส่วน หมักไว้ ๗ วัน ใช้ได้
หมายเหตุ
  • สัดส่วน หากใช้เป็นกิโลกรัมให้เทียบเป็นกิโลกรัมทั้งหมด หากใช้เป็นกระป๋องหรือส่วนต้องใช้ให้เหมือนกันทั้งหมด
  • ถ้าใช้กากน้ำตาลจะมีกลิ่นน้ำตาลมาก และเป็นพิษต่อดิน กินไม่ได้
  • ใช้น้ำตาลทรายแดงจะมีผลดีกว่า แต่ราคาแพง
  • สูตรนี้เปลี่ยนแปลงได้ตามที่เห็นว่าจะเป็นผลดีกับสิ่งที่ตนทำ
  • ทำตามสูตรนี้จะเก็บได้นาน
  • น้ำจุลินทรีย์น้ำแรกสามารถต่อเชื้อได้ โดยใช้น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน น้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน น้ำ ๘ ส่วน หมักไว้ ๗ วันก็ใช้ได้
  • ถ้ามีหนอนก็ตักออก การมีหนอนมิใช่เสีย แสดงว่าใช้ได้แล้ว
หากมีปัญหาเขียนจดหมายถึง สมณะฟ้าไท พุทธสถานปฐมอโศก  ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม ๗๓๐๐๐ หรือโทร. (๐๓๔) ๒๕๘-๔๗๐-๒

วิธีทำน้ำจุลินทรีย์ (สูตร ๒)
วัสดุที่เตรียม
 ๑. ขยะสด เศษผัก ผลไม้ เศษอาหาร (ประมาณ ๓ ส่วน)
 ๒. น้ำเปล่า (ประมาณ ๑๐ ส่วน)
 ๓. น้ำตาลทรายแดง (ประมาณ ๑ ส่วน)
 ๔. ถุงปุ๋ย สำหรับใส่เศษอาหาร
 ๕. ถังพลาสติกอย่างดีชนิดมีฝาปิด
วิธีทำ
  • นำน้ำตาลทรายแดง ๑ ส่วน ผสมลงในน้ำ ๑๐ ส่วน
  • นำเศษผัก ผลไม้ เศษอาหารใส่ลงในถุงปุ๋ย จากนั้นนำถุงปุ๋ยลงใส่ในถังที่ผสมน้ำไว้แล้ว โดยยังไม่ปิดปากถุงจนกว่าจะได้จำนวนขยะเท่าที่ต้องการ แต่กะให้มีเนื้อที่เหลือประมาณ  ๑ ใน ๔
  • จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วหาก้อนหิน หรือ อะไรหนักๆทับไว้ แล้วปิดฝา
  • ถ้าสัดส่วนกะได้ถูกต้อง จะมีฝ้าขาวๆลอยอยู่ข้างบน กลิ่นออกเปรี้ยวๆเหมือนน้ำส้ม ถ้ากลิ่นไม่ดีหรือมีหนอน แสดงว่าน้ำตาลน้อยไป หรือขยะมีเชื้อโรค แต่ไม่เป็นไร ให้เติมน้ำตาลลงไปอีก แล้วขบวนการหมักก็จะค่อยๆเป็นไปตามขั้นตอนทิ้งไว้ ๖ เดือน หมั่นคอยเปิดฝาดูบ้าง
หมายเหตุ 
  •  ถ้าทำใช้ภายในบ้าน ควรหมักจุลินทรีย์จากผัก ผลไม้ กลิ่นจะดีกว่าเศษอาหาร
  •  ถ้าหมักจากเศษอาหาร น้ำที่ได้จากการหมักควรเอาไว้รดต้นไม้

มารู้จักนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตกันดีกว่า
นมเปรี้ยวหรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า "โยเกิร์ต" นั้น เป็นผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่ง ซึ่งทำโดยการเติมเชื้อจุลินทรีย์ (ชนิดที่พบได้ตามปกติในทางเดินอาหารของคน) ลงไปในนมสด

โยเกิร์ตแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ โยเกิร์ตชนิดครีม และโยเกิร์ตชนิดพร้อมดื่ม
๑. โยเกิร์ตชนิดครีม (yoghurt) จะประกอบด้วย นมโค และเชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ต
๒. โยเกิร์ตพร้อมดื่ม (drinking yoghurt) จะประกอบด้วยนมโค น้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำผลไม้ และเชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ต
คุณค่าของโยเกิร์ตมาจากส่วนผสมที่เรียกว่า จุลินทรีย์โยเกิร์ต นั่นเอง เชื้อเหล่านี้เป็นเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ในโยเกิร์ตทั่วไป คือ แล็กโตบาซิลลัส บุลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) และสเตร็ปโตค็อกคัส เทอร์โมพิลัส (Streptococus thermophilus) ซึ่งเปลี่ยนน้ำตาลแล็กโทสในนมให้เป็นกรดแล็กติก อันมีผลให้นมมีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังพบว่า เชื้อจุลินทรีย์โยเกิร์ตยังสามารถอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้ ทำให้ภาวะภายในลำไส้ดี และป้องกันการติดเชื้อ โยเกิร์ตบางยี่ห้อ มีการเติมเชื้อบิฟิดัสลงไปด้วย ซึ่งเชื้อตัวนี้คือ บิฟิโดแบ็กทีเรียม บิฟิดัม (Bifidobacterium bifidum) ซึ่งปกติพบอยู่ในระบบทางเดินอาหารของทารก

ทำโยเกิร์ตกินเองได้ง่ายจังหลายคนอาจจะชอบกินโยเกิร์ต โดยที่ไม่รู้ว่าโยเกิร์ตที่กินนั้นผ่านกระบวนการโดยมีเชื้อจุลินทรีย์ตัวที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ คือ แบคทีเรียสายพันธุ์ต่างๆ เป็นตัวทำให้นมเปรี้ยว และจับตัวกันเป็นลิ่ม ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าวจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ถ้าหากใครอยากจะทำโยเกิร์ตกินเองภายในบ้าน  ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย วิธีทำนั้นง่ายมาก แต่ว่าทำแล้วต้องมีคนช่วยกินด้วยหลายๆคนจึงจะสนุก หรือถ้าทำกินเองจนเกิดความชำนาญ ก็อาจจะพัฒนาไปเป็นอาชีพเสริมเล็กๆน้อยๆ โดยทำ โยเกิร์ตขายในหมู่เพื่อนๆคนสนิทก็ย่อมได้

วิธีทำ
นำนมสดยูเอชทียี่ห้อที่คุณชอบ(รสหวานก็ได้ รสจืดก็ได้) ขนาด ๑ ลิตร มาต้มด้วยไฟปานกลางจนเดือด แล้วยกลงจากเตา วางทิ้งไว้จนนมเย็น แล้วจึงใส่โยเกิร์ตรสธรรมชาติ(ไม่มีผลไม้อื่นๆผสม)ที่ซื้อมาจากร้านค้านั่นแหละลงไปคนกับนมสดให้เข้ากัน จากนั้นเทแบ่งใส่ภาชนะ (ถ้วย, แก้ว ฯลฯ) ที่มีฝาปิด วางทิ้งไว้นอกตู้เย็น ๑ คืน แล้วลองชิมดู ถ้าหากยังไม่เปรี้ยวถูกใจ ก็อาจวางทิ้งไว้อีกสักพักประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ได้ แล้วจึงค่อยนำเข้าตู้เย็น เวลาจะกินจึงใส่ผลไม้หรือธัญพืชที่ชอบลงไป โยเกิร์ตที่ทำนี้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ ๒-๓ วัน 

สำหรับผู้ที่กินโยเกิร์ตเป็นประจำทุกวัน โยเกิร์ตที่ทำไว้นี้ ส่วนหนึ่งสามารถเก็บเอาไว้เป็นหัวเชื้อในครั้งต่อไปได้อีก และเมื่อทำใหม่โยเกิร์ตที่ได้ก็ทำเป็นหัวเชื้อได้ต่อไปเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่า ลงทุนซื้อโยเกิร์ตสำเร็จรูปเพียง ๑ ถ้วยในครั้งแรกแล้วไม่ต้องซื้ออีกเลย ยังไงๆทำกินเองก็ถูกสตางค์ดีกว่าซื้อเขากินแน่นอน