วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วันสำคัญ

Drop of water
จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันน้ำของโลก” หรือ World Day for Water โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี2535ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21
มีการจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องน้ำของโลกขึ้นที่ประเทศต่างๆ ดังนี้
ครั้งที่ 1: ปี 2540 ณ ประเทศโมร็อกโก
ครั้งที่ 2ปี 2543 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ครั้งที่ 3ปี 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น
ในการประชุมหนแรกนั้น ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกำหนด หลักจริยธรรมในการใช้น้ำครั้งใหม่เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำโลกดังนั้น การประชุมน้ำโลกในครั้งที่สองจึงเป็นการสานต่องานที่ทำค้างไว้ โดยจะมีการผลักดัน " แผนปฏิบัติการ " สำหรับน้ำในอีก 25ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ชาวโลกมีน้ำสะอาดไว้ดื่มกิน ชำระร่างกาย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึงในปี 2568 ผู้รับหน้าที่ทำงาน คือ " คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยน้ำสำหรับศตวรรษที่ 21 " ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มการลงทุนในการจัดหาน้ำทั่วโลกขึ้นเป็นปีละ 180,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติได้มีสารเนื่องในวันน้ำโลก โดยย้ำว่า " น้ำสะอาดเป็นสิ่งพิเศษ ในศตวรรษใหม่นี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถผลิตน้ำได้ น้ำจึงไม่มีสิ่งใดมาแทนที่ หรือทดแทนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นคุณค่าของน้ำและรักษาทรัพยากรนี้ไว้ " เลขาธิการยูเอนยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำ ซึ่ง "สตรีเพศ" ในฐานะผู้จัดการครอบครัวจะต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ ตลอดจนการ " ปฏิวัติสีน้ำเงิน "
หน่วยงานของสหประชาชาติ 2 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำโดยตรง คือ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก้) กับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสเคป) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั่วโลก ซึ่งน่าสนใจและมีหลายเรื่องที่คนทั่วยังไม่รู้และนึกไม่ถึง กล่าวคือ ยูเนสโกและเอสเคประบุว่า พื้นผิวโลก2ใน3ปกคลุมด้วยน้ำแต่เป็น " น้ำเค็ม " จากทะเลและมหาสมุทรทั้งหมด ส่วน " น้ำจืด " ซึ่งจำเป็นต่อการยังชีพของมนุษย์นั้น ครอบคลุมเพียงร้อยละ ของผิวโลกเท่านั้น แต่ " แหล่งน้ำจืด " ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ,ใต้และธารน้ำแข็ง หรือซึมอยู่ใต้ผิวดินลึก จนมนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนแหล่งน้ำจืดที่ใช้ได้จริงๆมีเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่หาได้จากแม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำจืดเพียงน้อยนิดนี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิตพลโลกกว่า 6,000ล้านคน ซึ่งแน่นนอนว่าย่อมไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์กลับมีมากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่บันยะบันยัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของน้ำจืด จนตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง ยูเอนได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ำของมนุษย์ว่า ในแต่ละวันมนุษย์ต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2-5 ลิตร ใช้ชักโครกโถส้วม 5-15 ลิตร ใช้อาบน้ำ 50-200 ลิตรขณะที่ใช้น้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร ราวร้อยละ 70 ของน้ำทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งต้องสูญเปล่าเพราะซึมลงไปในดินหรือไม่ก็ระเหยขึ้นสู่อากาศหมด กรุงเทพมหานครของไทย ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เมืองที่ผลาญทรัพยากรน้ำมากที่สุดในโลก เฉลี่ยแล้วใช้น้ำราว 265 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะที่ชาวฮ่องกงใช้น้ำเปลืองน้อยที่สุดในโลก เพียง 112 ลิตร ต่อคนต่อวัน
การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รับผิดชอบทำให้การไหลเวียนของแม่น้ำหยุดชะงักลง ระดับน้ำในแม่น้ำและน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มดินเปียกหายไป สภาพปนเปื้อนพิษจากมลพิษต่างๆทำให้คุณภาพน้ำลดลง จำนวนน้ำสะอาดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลกก็มีส่วนทำให้จำนวนน้ำจืดสำหรับใช้ในรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและขาดสุขลักษณะ เป็นสาเหตุทำให้เด็กทารก ในเอเชียและแปซิฟิกเสียชีวิตกว่าปีละ แสนคน นอกจากนี้สถิติของสหประชาชาติเมื่อสิ้นปี2542 พบว่ามีประชากรโลกราว 2,400ล้านคน ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากระบบสุขอนามัยเกี่ยวกับน้ำที่ทันสมัย หน่วยงานของสหประชาชาติได้เสนอแนะทางออกในปัญหานี้หลายข้อ อาทิ การอนุรักษ์น้ำ การบำบัดน้ำเสียการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การจัดการเรื่องน้ำและดินให้เหมาะสม การทำวิจัยแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ ออกกฎหมายการใช้น้ำที่ทันสมัย การจัดสรรน้ำอย่างเสมอภาค และการปลุกจิตสำนึกในหมู่ประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ  ยิ่งกว่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตัวบุคคล องค์กร อาสาสมัคร ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลกลาง ตลอดจน องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
และในการประชุมครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 200 ประเทศ
การประชุมครั้งนี้ รัฐบาลไทยจะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการประชุม ประการได้แก่
1. การเสนอรายงานโครงการประเมินสถานการณ์น้ำของโลกในส่วนของประเทศไทยกรณี ศึกษาการพัฒนาและบริหารลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. การเสนอแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ ของประเทศไทย
3. การประชุมและจัดทำแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี
ในการประชุมระดับโลกทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันการจัดการน้ำระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าว อาทิเช่น World Water Council (WWC), Clobal Water Partnership (GWP) และธนาคารโลก ต่างใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอทิศทางหรือการจัดทรัพยากรน้ำและการแบ่งปันผลประโยชน์ (Water Resources Management and Benefit Sharing) โดยมีประเด็นใจกลาง 4ประเด็น ได้แก่ หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ – เอกชน (Public Private Partnership), เขื่อนกับการพัฒนา (Dam and Development Partnership), ค่าคืนทุน (Cost Recovery), การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management) ซึ่งสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้
การแปรรูปกิจการประปาหรือระบบชลประทานของรัฐ (Privatization) ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกผลักดันจากการประชุมระดับนานาชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การประชุมเรื่องน้ำจืดโลกที่กรุงบอน เดือนธันวาคม 2544 หรือ การประชุมที่โจฮันเนสเบิร์ก แนวทางเช่นนี้ถูกใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมให้บริษัทข้ามชาติด้านกิจการน้ำประปาเข้ามา ลงทุนหรือรับสัมปทานในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมาก เช่น ประเทศโบลิเวีย
แนวความคิดในเรื่องการคิดค่าคืนทุนระบบชลประทานหรือระบบการลงทุนด้านการจัดหาน้ำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทที่มาลงทุนในแต่ละประเทศ และการส่งเสริมระบบการค้าเสรีของโลก
การส่งเสริมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบของเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อการบรรเทาน้ำท่วม ซึ่งผลักดันโดย UNDP ได้จัดทำโครงการ Dam and Development Partnership และ World Commission on Dam (WCD) การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ Integrated Water Resources Management (IWMI) โดยมีแนวทางให้เกิดองค์กรระดับลุ่มน้ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ)
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา http://www.geocities.com/Eureka/Park/1476/waterday.html
http://www.lungkao.org/xboard/viewthread.php?tid=48
http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/water_day.html


ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซนขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซนมีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_09_16.htm
http://www.hunsa.com/variety/new16.shtml
http://www.thai.net/smileman/wonosone.htm
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm
ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา
นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE    EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยราชการ องค์กรเอกชน ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า
3. เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า
1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า
2. กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ)
2.1 การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง
2.2 การทำแนวกันไฟ โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา : http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
http://www.geocities.com/firecontrol13/24febtext.html
http://www.forest.go.th/ForestFire/24%20feb.htm
http://www.geocities.com/firecontrol35/ron1.html


 
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อมขึ้นจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
วันที่ 14 มกราคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้  ดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและพื้นที่  เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จำเป็นต้องทำการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า  เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้งได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น"ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ มกราคม 2533 กำหนดให้วันที่ 14มกราคม ของทุกปีเป็น วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
 
1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ธันวาคม 2532
2. เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้และภาคอื่นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไป
3. เพื่อระลึกถึงมาตรการอันเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลที่ได้สั่งปิดป่า ระงับการทำไม้ในป่าสัมปทาน ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
 
1.ผลทางตรงที่เกิดขึ้นก็คือ การทำไม้ในป่าสัมปทาน จำนวน276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน เป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ใช้สอยในอนาคต คิดเป็นเนื้อไม้เฉลี่ยปีละ ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลกโดยตรง
2. ด้านนโยบายของรัฐบาล เป็นการตอบสนองนโยบายการป้องกันรักษาป่าและนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
3. ด้านสังคมและการเมือง ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ทำให้มีการใช้ไม้อย่างประหยัด และส่งผลให้สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ เป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติได้ตลอดไป
 
เพื่อให้การจัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเจตนารมย์ของทางราชการจึงสมควรได้รับการสนับสนุน ดังนี้
ภาคราชการ จัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ การบรรยายความรู้ในสถานศึกษา ประกวดวาดภาพป่าไม้ แจกเอกสารเผยแพร่แจกกล้าไม้แก่ประชาชน ตลอดจนจัดประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไป เชิญชวนให้ประชาชนงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งร่วมกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ในทุกท้องที่
ภาคเอกชน ประชาชนควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางราชการเท่าที่สามารถจะทำได้ ควรถือเอาวันที่ 14 มกราคม เป็นวัน ลด ละ เลิก การบุกรุกแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า และร่วมมือร่วมใจกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนที่ถูกตัดทำลายไปให้มากที่สุด
 
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน เยาวชน จะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการ จัดให้มีขึ้นทุกท้องที่ในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเพื่อสนับสนุนนโยบายการป่าไม้แห่งชาติ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของทุกคนในชาติตลอดไป
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/list_envday.htm
http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
http://www.thai.net/huaikum/14jan.html
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ เมษายน ของทุกปีเป็น "วันรักการอ่าน" กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งคนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่องและทั่วถึง พร้อมกันนี้ วันที่ เมษายน ของทุกปียังเป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ อีกด้วย
จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกปลูกฝังการอ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะมีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน ทั้งสติปัญญา ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม
โครงการส่งเสริมการอ่าน จึงเป็นอีกหนึ่งในมาตรการของรัฐ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย ด้วยการส่งเสริมให้เกิดหนังสือดีราคาถูก ถึงมือเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึง หนังสือเล่มแรก (Book start) ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด
 
มาตรการ 5: การส่งเสริมการอ่าน
 
แนวคิด:
การส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและเข้าถึงหนังสือคุณภาพ
จากอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยังน้อย เฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่ สิงค์โปร์และเวียตนาม 40-60 เล่มต่อคนต่อปี (ปี2549)
อัตราการอ่านหนังสือของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งหนังสือที่อ่านส่วนใหญ่คือตำราเรียน และอัตราการอ่านลดลงตามลำดับเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง (จากประชากรผู้ที่อ่านหนังสือร้อยละ69.1ในปี2548 เหลือ 66.3ในปี 2551) ทั้งนี้เพราะมีสื่ออื่นที่สนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกม เป็นต้น( สนง.สถิติแห่งชาติ 2551)
อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ 0.22 ของรายได้ต่อหัว (ปี2550)
 
 
ปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่อ่านหนังสือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งจากครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐบาล ที่ผ่านมาการรณรงค์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสังคมไม่มีเอกภาพ และไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน หรือสนับสนุน
การส่งเสริมการอ่าน จึงต้องมีการดำเนินการไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านของอุปสงค์ (Demand side) คือการสร้างพฤติกรรมการอ่าน การกระจายหนังสือให้ถึงมือเด็ก และการรณรงค์สร้างกระแสรักการอ่าน และด้านอุปทาน (Supply side) คือ มาตรการทางภาษี ที่ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง การขยายช่องทางเผยแพร่ใหม่ๆ และการพัฒนาคุณภาพหนังสือ
ตัวอย่าง โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start) เครือข่ายหนังสือเพื่อเด็ก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการหนังสือเล่มแรก เพื่อสร้างกระแสรักการอ่าน ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด
จากผลการวิจัยที่ติดตามพัฒนาการของเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ไปจนถึงอายุ 5 ขวบ เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับหนังสือ พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพัฒนาการดีในทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ทักษะทางภาษา และคณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม
 
แนวทาง:
1. รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านระดับชาติ ที่มีองค์ประกอบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ (อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้มีการจัดทำแผนแม่บท ยุทธศาสตร์ และดำเนินการด้านกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น
2. รัฐบาลสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือให้ห้องสมุดชุมชน และกระจายหนังสือดีให้ถึงเด็กและครอบครัวในชุมชน รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนที่มีร้านค้าสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้จัดมุมจำหน่ายหนังสือดีราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและหาซื้อได้ง่าย
3. รัฐบาลกำหนดมาตรการทางภาษี (เช่น ให้ธุรกิจหนังสือเด็กอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0%) เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตหนังสือคุณภาพออกเผยแพร่มากขึ้น และการลดหย่อนจากเงินบริจาคให้แก่กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
4. รัฐบาลประกาศเรื่อง การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้เริ่มในวันหนังสือเด็กแห่งชาติ (2 เมษายน 2552)
 
ที่มา http://thaikid.in.th/reading




          วันขึ้นปีใหม่ 
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ


          นานาชาติ  ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น ประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวพืชผล และ นำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็น วันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราว วันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน
          ครั้งมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่พวกยิวจะขึ้นปีใหม่ อย่างเป็นทางการประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม และ ทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม ส่วนชาวคริสเตียนในยุคกลางจะเริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม คนอังกฤษ เชื้อสายแองโกลซักซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม ( William the Conqueror ) ได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษ จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ต่อมาเมื่อถึงยุคกลางชาวอังกฤษก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 25 มีนาคม เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนอื่น ๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการใช้ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมกันอีก

          ไทย ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่  รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นังจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการบางคน ครั้นพระราชทานสิ่งของตามฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมา ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ
           ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์
            ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑  มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

            ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช  เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน

            ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ งดการ พระราชกุศลสวดมนต์เลี้ยงพระในวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยน เป็นเสด็จออก   ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรวันขึ้นปีใหม่แทนใน พุทธศักราช ๒๕๐๑    และ

            วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนัก จิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมาที่พระแท่น นพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในท้องพระโรง

            เวลา ๗ นาฬิกา เสด็จฯ ลงยังสนามหน้าพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยแล้วทรง บาตรพร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ ทุกกระทรวง   ทบวง กรมโดยจัดเป็น สาย ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศา นุวงศานุวงศ์ ๕๐ รูปนอกนั้นสายละ ๒๕ รูป รวมพระ สงฆ์ ๓๐๐ รูป เสร็จแล้วเสด็จฯ ขึ้น งานนี้แต่งเครื่องแบบ ปรกติขาว งานนี้มีสังข์ แตร ปี่พาทย์ ประโคม บรรเลง ตั้งแต่เสด็จทรงจุดเทียนจนเสด็จขึ้น

            วันนี้ เวลา ๙ นาฬิกาจนถึงเวลา ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวัง จะได้จัดที่สำหรับลงพระนามและนาม ถวายพระพรไว้ที่พระบรมมหาราชวัง

            ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนการ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ซึ่ง เป็นวันสิ้นปี

            ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้จัดเป็นงาน ส่วนพระองค์ ณ พระราชฐานที่ประทับ

            สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑  ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำ ปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร    หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน


          เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรมแต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

                    



          เมื่อเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่าวันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆขึ้นทุกปีในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง


เก็บกวาดดูแลทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาหารบ้านเรือน
ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
ตรวจสอบตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
หากมีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกับผู้ใด ในวันนี้ควรถือโอกาสให้อภัยซึ่งกันและกัน เริ่มสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี



         ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ครู คือ ผู้ยกวิญญาณของโลก ให้สูงขึ้นโดยหน้าที่ และโดยสิทธิครู คือ ปูชนียบุคคลของโลก ครูมิใช่เรือจ้างที่จะรับจ้างสอนหนังสือ หรือวิชาบางวิชาในหัวใจของครู มีแต่ปัญญากับเมตตาเคียงคู่กันอยู่ ปัญญาคือความรู้ความสามารถที่จะยกวิญญาณของเด็กให้สูงขึ้น เมตตา คือความรัก ความเสียสละเพื่อทำหน้าที่ของตน โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือเอือมระอา
        ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
        ด้วยความเห็นสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้น ในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม
        ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู
        ในปีพ.ศ.2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมานตรีในสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป
        ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2599 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติ ครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น "วันครู"
        วันครูได้ให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
        คำปฏิญาณ
        ข้อ 1.    ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
        ข้อ 2.    ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศืษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
        ข้อ 3.    ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
            ความมุ่งหมายในการจัดงานวันครู
            1. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
            2. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครู
            3. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

        การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
            1. กิจกรรมทางศาสนา
            2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
            3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น





17 มกราคม





๏ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๏
        เดือนธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๑ สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"
        ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึง ความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดว่าควรที่จะเป็น วันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จะเป็นการเหมาะสมกว่า ซึ่งวันนั้นตรงกับวัน ศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๖ ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๒ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
        ดังนั้นวันที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๓ จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก
        นับแต่นั้นมาจังหวัดสุโขทัย และทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ ๑๗ มกราคม เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาวไทย กิจกรรมหลักประกอบด้วย พิธีสักการะ บวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่ และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ โดยสถานที่จัดงานของจังหวัดสุโขทัย คือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนสถานที่จัดงานของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ ณ บริเวณลานพ่อขุน และหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพ่อขุนรามราช ชื่อ"รามราช" พบในจารึกวัดศรีชุมว่า "ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่งชื่อพ่อขุนรามราชปรา(ช)ญ์รู้ธรรม" รวมทั้งพบในจารึก และเอกสารอื่นๆอีกหลายแห่งว่า "พญารามราช" อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ อธิบายคำว่า "ราม" (จากชื่อพญารามราช) น่าจะมาจาก "อุตตโมราม" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้ยิ่งใหญ่" ที่ทรงเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าองค์ต่อไปจากพระเมตไตรย ดังที่กล่าวถึงใน "โสตตัตถกีมหานิทาน" เพราะในช่วงเวลานั้นต่างให้ความสำคัญแก่พระอนาคตพุทธเจ้าโดยเฉพาะ (เอกสารวิจัยเรื่อง "การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ : จารึกพ่อขุนรามคำแหง" : ๒๕๓๑)แต่ชื่อ "รามคำแหง" พบเพียงครั้งเดียวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไม่พบในที่อื่นๆอีกเลยทุกวันนี้ชื่อ "รามคำแหง" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า "รามราช" จึงขอเรียกตามความนิยมว่า "พ่อขุนรามคำแหง"
ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่าขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพจากเมืองสุโขทัยไปป้องกันเมืองตาก โดยมีพระรามราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไปด้วย การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทธหัตถี (การรบบนหลังช้าง) ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ช้างที่ประทับของพระองค์สู้กำลังข้าศึกไม่ได้ พระรามได้รีบไสช้างเข้าไปช่วย และสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะ ความกล้าหาญของพระรามใน ครั้งนี้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงพระราชทานนามให้เป็น "รามคำแหง" ซึ่งหมายถึง รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ หลังจากศึกครั้งนี้เข้าใจว่าฐานะทางการเมืองของสุโขทัยมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น และคงมีการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตสุโขทัยให้กว้างขวางออก
ภายหลังที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมืองราชโอรสองค์ใหญ่ ได้ขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยสืบต่อมา ในสมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆเช่นเดียวกับสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยมีพระอนุชาคือพ่อขุนรามคำแหงเป็นแม่ทัพ ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู" เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา การที่พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบ และนักปกครองที่มีความสามารถ อาณาเขตในสมัยของพระองค์จึงได้แผ่ขยายกว้างไกล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ในภายหลัง ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงเขตแดนสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไว้ว่า "ทางทิศเหนือ มีเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว ถึงเมืองหลวงพระบาง ทิศตะวันออกมี เมืองสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา ถึงเมืองเวียงจันทร์ ทางทิศตะวันตกมีเมืองฉอด เมืองหงสาวดี จนสุดชายฝั่งทะเล ทางทิศใต้มี เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช จนสุดชายฝั่งทะเล" จะเห็นว่าในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯนี้ อาณาจักรสุโขทัยได้ครอบครองเมืองในลุ่มแม่น้ำ ปิง ยม น่าน และป่าสักได้ทั้งหมด อันเป็นการรวบรวมเมืองบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งเคยอยู่ใต้ครอบครองของราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมให้เป็นแว่นแคว้นเดียวกัน และขยายอาณาเขตไปยังดินแดนห่างไกลออกไป

จากเอกสารของจีน ได้กล่าวถึงการขยายอาณาเขตของพ่อขุนรามคำแหงฯไปยังดินแดนทางใต้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๘๒๓ ตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองในแหลมมลายู ตลอดจนยะโฮร์ และต่อมาตีได้กัมพูชา และจากพงศาวดารเหนือได้กล่าวถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ผู้เป็นราชบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งต่อมาได้ครองเมืองมอญ แสดงถึงการขยายอาณาเขตของพระองค์ไปทางตะวันตก ได้หัวเมืองมอญด้วยสันติวิธี อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของการยอมรับอำนาจและความเข้มแข็งของศูนย์กลางอำนาจทีเมืองสุโขทัยอันเป็นผลจากการสะสมกำลังคนที่ได้จากการทำสงครามแล้วกวาดต้อนผู้คน และแรงงานจากเมืองต่างๆ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯ นอกจากนั้นเนื่องจากพระองค์มีสัมพันธไมตรี
กับเมืองใหญ่ๆใกล้เคียงได้แก่ พ่อขุนเม็งราย(มังราย)แห่งอาณาจักรล้านนา และพระยางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ซึ่งได้ทำข้อตกลงที่จะช่วยเหลือกันและกันเมื่อถูกรุกรานจากอาณาจักรอื่น ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ซึ่งนอกจากการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตแล้ว ความรุ่งเรืองของสุโขทัยอาจเนื่องมาจากการที่สุโขทัยตั้งอยู่ในเส้นทางทางการค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และเมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สุโขทัยซึ่งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆได้โดยรอบ โดยมีเส้นทางการเดินทางไปทางเหนือถึงลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกมีเส้นทางติดต่อกับเมืองพุกามและหัวเมืองมอญ ซึ่งสามารถออกทะเลเบงกอลติดต่อกับลังกา และอินเดียใต้ ส่วนทางใต้มีเส้นทางเดินทางผ่านลุ่มแม่น้ำปิง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านนครศรีธรรมราชออกสู่ทะเล สันนิษฐานว่าสุโขทัยอาจเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแบบกองคาราวาน และสุโขทัยเองอาจจะค้าของป่า และแร่ธาตุสำคัญ นอกจากนั้นสุโขทัยยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาลินค้าไปค้าขายแลกเปลี่ยนได้โดยไม่เก็บภาษีผ่านด่าน เป็นการส่งเสริมให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น ดังมีข้อความปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้คนจากที่ต่างๆโยกย้ายเข้ามาสู่ดินแดนในอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "พ่อขุนรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ทั้งมากาว ลาวแลไทย เมืองใต้หล้าฟ้า ฏ...ไทยชาวอู ชาวของ มาออก"
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงสวรรคต (สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ. ๑๘๔๒) พระยาเลอไทยพระราชโอรสของพระองค์ได้ครองราชสมบัติ พระยาเลอไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มุ่งปฏิบัติธรรมบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง แผ่ขยายออกไปจากเดิมมากขึ้น การศึกษาพระธรรม และภาษาบาลีได้เริ่มขึ้น และเจริญก้าวหน้า พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางธรรมมาก และทรงมีความรู้ทางปรัชญาอย่างสูง ลูกเจ้าลูกขุนจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระองค์ครองราชย์นาน ๔๐ ปี เมื่อสิ้นรัชกาล พระยางัวนำถมได้ครองราชย์สืบต่อมา
เมื่อพระยางั่วนำถมทรงทำพิธีราชาภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งพระยาลิไทย (พระราชโอรสของพระยาเลอไทย) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังก์จะพึงครอบครองก่อนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอไทย แต่ไม่สำเร็จ ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม และความแตกแยกภายใน ตอนปลายรัชกาลพระยางัวนำถมสวรรคตลงโดยกระทันหันในปี พ.ศ. ๑๘๙๐ ทำให้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติขึ้นในกรุงสุโขทัย พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัยเข้าเมืองสุโขทัย แล้วจับศัตรูที่คบคิดชิงราชสมบัติประหารชีวิตเสียทั้งหมด แล้วเสด็จขึ้นครองเมืองสุโขทัยในปีนั้น

 
เมื่อกล่าวถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการอนุรักษ์ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ หรือแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่า หรือน้ำตก ชายหาด เกาะ แก่ง ปะการัง ที่มีทัศนียภาพสวยงามและมีคุณค่าทางนันทนาการ แต่สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึงนั้น สาธารณชนส่วนใหญ่มักมองข้ามคุณค่าไป โดยเห็นว่าเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีทรัพยากรที่มีค่า ไม่มีประโยชน์ เป็นเพียงพื้นที่เฉอะแฉะ มีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีพิษ เช่น งู และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น ยุง ที่รบกวนความเป็นอยู่ของชุมชนใกล้เคียงทั้ง ๆ ที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับพื้นที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณดังคำกล่าวที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนชนบท จนมีผู้กล่าวว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เกตของชุมชน" ที่ชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน
"พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นคำที่ใช้เรียกระบบนิเวศที่ปกคลุมด้วยพื้นน้ำบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างถาวรหรือในช่วงเวลาหนึ่ง จึงมีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนมากจะเป็นพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ ที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวหรือเป็นระยะ ๆ นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจืด พื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล โดยที่ความลึกของระดับน้ำไม่เกิน เมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์นานาชนิดที่อาศัยทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรชีวภาพที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต พื้นที่ชุ่มน้ำโลกมีคุณประโยชน ์คือ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วม ลดการพังทลายหน้าดิน ควบคุมการไหลเวียนของน้ำไปยังแหล่งน้ำใต้ดินและรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ
จากนิยามดังกล่าวทำให้พื้นที่มากมายมีลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง บริเวณที่ลุ่มน้ำจืดชื้นแฉะ ทะเลสาบ พื้นที่พรุ และบริเวณป่าที่ลุ่มน้ำขัง หรือแม้กระทั่งพื้นที่น้ำขังที่พัฒนาโดยมนุษย์ เช่น นาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการจำแนกรวมกับพื้นที่ที่ไม่ได้รับการจำแนกและคุ้มครองในรูปพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ที่รวมถึงป่าชายเลน ป่าพรุ ทะเล หนองและบึง ต่าง ๆ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 15.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ ของพื้นที่ประเทศ
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำโดยรวมประชาชนทั่วไปและองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความเข้าใจต่อความสำคัญทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้มีการบุกรุกทำลายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หลากหลาย
นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชนท้องถิ่น ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อความเสื่อมโทรม การลดลงและสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงเกิดอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้น เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขการจัดการในแต่ละประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ” ขึ้นใน วันที่ 2กุมภาพันธ์ 2514 ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์ วัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและเป็นข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อม
หลายปีที่ผ่านมาอนุสัญญาฯ ได้พัฒนาตนเองจากข้อตกลงที่เน้นเพียงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยนกน้ำ มาเป็นกลไกระดับนานาชาติ ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ ดังนั้นประเทศไทยได้มอบสัตยาบันสาร ต่อผู้แทน UNESCO ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 กันยายน 2541 ส่งผลให้ ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา
แรมซาร์ลำดับที่ 110
โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ ควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตาม พันธกรณีของอนุสัญญา คือ ประเทศภาคี จะต้องกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมในดินแดนของตนเพื่อรวมไว้ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (List of Wetland of International Importance) โดยคำนึงถึงความสำคัญในระดับนานาชาติ ทั้งด้านนิเวศวิทยา พฤกษศาสตร์ สังคมศาสตร์ ชีววิทยา และอุทกวิทยา และต้องดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำนั้น ๆ อย่างชาญฉลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ซึ่งได้รับการเสนอให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 8สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีเนื้อที่ประมาณ 281,625 ไร่ และเป็นหนึ่งในจำนวนพื้นที่ชุ่มน้ำ 42 แหล่งของประเทศที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ขึ้นบัญชีไว้ในฐานะพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีลักษณะค่อนข้างกลมมีอาณาเขตผืนน้ำประมาณ 30ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 20,000 ไร่ มีชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นป่าพรุเสม็ดขนาดใหญ่ มีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร ต้นน้ำของทะเลน้อยมาจากเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2,126 มิลลิเมตร
ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ สำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 10 ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา นากใหญ่ ขนเรียบ นอกจากนี้ยังพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ชนิด สัตว์เลื้อยคลานอีก 25ชนิด ซึ่งรวมถึงเต่ากระอาน ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย พันธุ์ปลา ที่พบอย่างน้อย45 ชนิด และในจำนวนนี้มี ชนิด ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลากะทิ ปลาดุกลำพัน ปลาฝักพร้า ปลาตะลุมพุก และชนิดเด่นที่พบคือ ปลาตุม ปลากะแห เป็นต้น
มีการสำรวจพบนกอย่างน้อย 187 ชนิด ทะเลน้อยจัดเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกน้ำ ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกกาบบัว ซึ่งพบว่าทำรังวางไข่ที่นี่เพียงแห่งเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทำรังของนกกระสาแดง นกยางควาย และนกกาน้ำเล็ก รวมถึงนกแขวก ในฤดูหนาวจะพบนกอพยพที่สำคัญ คือ นกซ้อนหอยขาว รวมไปถึงเป็ดแดง และเป็ดคับแคนับหมื่นตัว
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของโลกตั้งแต่วันที่ 13  กันยายน 2541 และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเซียด้วย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ของทุกปีจะมีนกอพยพหนีหนาวมาจากไซบีเรียนับแสนตัว และเป็นช่วงที่ธรรมชาติสวยงาม
ในทะเลน้อยสำรวจพบพันธุ์ไม้น้ำ 78 ชนิด อาทิ ธูปฤาษี กุ่ม กก ในบริเวณน้ำลึกพบพืชลอยน้ำ เช่น บัว ขึ้นอยู่กระจัดกระจายปะปนกับกระจูด ส่วนพืชบกที่พบในบริเวณพรุได้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป ภายหลังจากการเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2508 ทำให้เกิดสังคมพืชเสม็ดขึ้นทดแทน นอกจากนี้พันธุ์ไม้น้ำที่สำคัญคือ เตยน้ำ จัดเป็นชนิดพันธุ์ที่พบเฉพาะที่ทะเลน้อยเท่านั้น
ในอดีตก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ จัดเป็นป่าพรุเสม็ดผืนใหญ่ที่สุดของประเทศแต่ได้ถูกบุกรุกตัดไม้เสม็ดเพื่อใช้ในการสร้างบ้าน และเป็นเชื้อเพลิง ทำให้กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าและบางส่วนได้ถูกบุกเบิกทำนา ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งทำรังวางไข่และพื้นที่ผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าต่าง ๆ รวมถึงมีการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารด้วย
ปัจจุบันพื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวประมงที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นตาข่ายดักปลา ลอบและเบ็ดราว และมีประชาชนที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว โดยที่พื้นที่ทำนาบางส่วนในจำนวนนี้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าฯ มีประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ควาย โดยอาศัยพื้นที่ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ แห่ง บริเวณทางตอนเหนือ ตะวันออกและใต้ รวมพื้นที่ประมาณ หมื่นไร่ และอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่งคือการทำเครื่องจักสานจากกระจูด ซึ่งได้ทำต่อเนื่องสืบทอดมาหลายชั่วอายุ โดยสมัยก่อนเป็นการเก็บกระจูดจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเมื่อกระจูดเหลือน้อยลงได้มีการทำนากระจูดขึ้นในหลายพื้นที่ รวมพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่ และประชาชนบางส่วนได้รับรายได้จากการท่องเที่ยว จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ต่อปี
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_02_2.htm
http://www.reo12.in.th/news/news2002/january/jandoc3.html


องค์กรสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากลและเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงการต่อสู้ของสตรี เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพและการนำไปสู่การทบทวนความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันของหญิงและชายในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ตลอดจนสิทธิมนุษยชนของสตรี และในปี 2553 นี้ เป็นวาระครบรอบเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์คือ
1. ครบรอบ 100 ปี นับแต่ได้มีการประกาศวันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล ตามข้อเสนอของ คลาร่า เซ็ทกิ้น (Clara Zetkin) ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีชาวเยอรมัน เมื่อปี 2453 คลาร่า เซ็ทกิ้น ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าและเหล่ากรรมกรสตรี ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา พากันลุกขึ้นสู้ ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ.2450) โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั่วโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน อีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) ข้อเรียนร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จเมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของคลาร่า เซ็ทกิ้น ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
2. ครบรอบ 15 ปี ของการรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อความก้าวหน้าของสตรี เมื่อปี 2538 ปฏิญญาดังกล่าวได้เน้นประเด็นที่น่าห่วงใยเกี่ยวกับสตรี ทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่ สตรีกับความยากจน สตรีและเศรษฐกิจ สตรีกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาและฝึกอบรมของสตรี สตรีและสุขภาพอนามัย ความรุนแรงต่อสตรี สตรีและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ สตรีในอำนาจและการตัดสินใจ กลไกเชิงสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรี สิทธิมนุษยชนของสตรี สตรีกับสื่อมวลชน และเด็กผู้หญิง
รวมทั้งผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ สมัยที่ 23 หัวข้อ "สตรีในยุค 2000 : ความเสมอภาคระหว่างเพศการพัฒนาและสันติภาพสำหรับศตวรรษที่ 21" เมื่อปี 2543 ได้พิจารณาถึงประเด็นห่วงใยเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัจจัยในการดำเนินการให้บรรลุตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งใน 7 ประเด็น คือ โลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงาน ภาวะประชากรสูงอายุ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภัยพิบัติธรรมชาติ และการแบ่งภาระความรับผิดชอบระหว่างหญิงชาย
ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Status of Women - CSW) สมัยที่ 54 ในเดือนมีนาคม 2553 ณ นครนิวยอร์ก ได้กำหนดหัวข้อการประชุมให้ทบทวนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการปักกิ่งและผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ ปี 2543
3. ครบวาระ 10 ปี ของการประกาศเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Millennium Development Goals - MDGs) เมื่อปี 2543 ในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษที่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก เมื่อปี 2543 ประเทศต่างๆ 189 ประเทศทั่วโลก ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ปฏิญญานี้ยืนยันหลักสากลเรื่องการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลางและการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal's - MDGs) ที่ทุกประเทศจะต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2558 ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 8 ข้อ คือ 1) ขจัดความยากจนและหิวโหย 2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3) ส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ 4)ลดอัตราการตายของเด็ก 5) พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์ 6) ต่อสู้โรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก
จาก 3 เหตุการณ์ดังกล่าว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจึงได้ร่วมฉลองและระลึกถึงการต่อสู้ของสตรีเพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค ภายใต้ชื่อ "100 ปี วันสตรีสากล : จากพันธกรณีสู่สิทธิและศักดิ์ศรีสตรีไทย" เพื่อร่วมทบทวนและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาสตรีของประเทศไทย
 
เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ใน วันที่ มีนาคม ของทุกปี ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงหลายประเทศทั่วโลกได้มีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
กลุ่มผู้หญิงและองค์กรแรงงานหญิงได้เคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากลอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี เพื่อนำเสนอสภาพปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบของแรงงานหญิง ซึ่งต้องทำงานโดยได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม ตลอดจนเรียกร้องความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในรูปแบบต่างๆ วันสตรีสากล มีนาจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เรียกร้องสิทธิความเสมอภาคของแรงงานหญิงและกลุ่มผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคในสังคม
ปัจจุบันแม้สิทธิของแรงงานหญิงและสิทธิผู้หญิงจะได้รับการพูดถึงและรับรองเพิ่มมากขึ้น แต่สภาพความเป็นจริง แรงงานหญิงทั้งในระบบและนอกระบบยังต้องเผชิญกับปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยจากการทำงาน ผู้นำแรงงานหญิงถูกคุกคามเมื่อออกมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ ฯลฯ ขณะเดียวกันผู้หญิงทั่วไปก็ยังขาดความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต แม้แต่สิทธิในชีวิต เนื้อตัว ร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ก็ยังไม่ได้รับการคุ้มครอง
เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ มีนา เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ แนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง และมูลนิธิเพื่อนหญิง ขอประกาศเชิดชู สนับสนุนการต่อสู้ของขบวนการแรงงานหญิงและองค์กรพันธมิตรต่างๆ ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างหลักประกันเพื่อความเสมอภาคของผู้หญิงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น สิทธิลาคลอด 90 วันโดยได้รับค่าจ้างเต็ม สิทธิในการเลือกใช้นามสกุล ฯลฯ ซึ่งคนทุกกลุ่มในสังคมได้รับประโยชน์จากการต่อสู้นี้อย่างเสมอกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้เพื่อให้รับรองสิทธิความเสมอภาคและการคุ้มครองผู้หญิงในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ แนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง และมูลนิธิเพื่อนหญิง ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้
ให้พิจารณา ข้อเสนอแนะคณะกรรมการจัดงาน มีนา วันสตรีสากล 2547” และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้หญิงในทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานหญิงและผู้หญิง
ให้เร่งออกกฎหมายและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมสิทธิผู้หญิงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อาทิเช่น กฎหมายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาค กฎหมายเพื่อขจัดความรุนแรงในครอบครัว ฯลฯ
ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงและเปิดโอกาสให้องค์กร กลุ่มผู้หญิง ที่มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรง เข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุด ท่ามกลางความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชาย และสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้หญิงหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน โดยเฉพาะการคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง รัฐบาลต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน ที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมเพื่อส่งเสริม คุ้มครองสิทธิผู้หญิง สร้างหลักประกันในการทำงานขององค์กรและนักต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิผู้หญิงให้ปลอดจากการคุกคามทุกรูปแบบ โดยเฉพาะจากกลไกและอำนาจรัฐ
โดยเฉพาะในปี 2547 นี้ เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา นับเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มพลังสตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน ซึ่งเปรียบเสมือนทรงเป็นแม่แบบของสตรีไทย ประกอบกับปีนี้เป็นวาระครบรอบทศวรรษปีครอบครัวสากลขององค์การสหประชาชาติ เราจึงหวังว่าพี่น้องคนไทยจะได้ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ด้วยการยกย่องเชิดชูสตรี สร้างความรักความอบอุ่นให้แก่ครอบครัว และให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว เพื่อสร้างให้ครอบครัวเป็นสถาบันที่เข้มแข็งและเป็นพื้นฐานที่มั่นคงของชุมชนและประเทศชาติ
สำหรับประเทศไทยเรา ผู้หญิงก็มีโอกาสทำงาน และดำรงตำแหน่งสำคัญๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างานผู้อำนวยการอธิบดี,ปลัดกระทรวงรัฐมนตรี หรือแม้แต่เป็นส.ส. ส.ว. ผู้หญิงก็สามารถเป็นได้ และทำงานได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย
นอกเหนือไปจากเรื่องการบ้านการเมืองแล้ว ในด้านงานศิลปะเราก็มีผู้หญิงที่เก่งในด้านนี้ไม่น้อย ซึ่งในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างศิลปินสตรีบางท่าน ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม  ในปัจจุบันเรามีศิลปินแห่งชาติรวม 155 คน ในจำนวนนี้เป็นศิลปินสตรีอยู่ 39คน  แบ่งเป็น สาขา   ได้แก่วรรณศิลป์  5 คนสาขาทัศนศิลป์  2 คนสาขาศิลปะสถาปัตยกรรมคน  และสาขาศิลปะการแสดง 31 คน
สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นางกัณหา เคียงศิริ หรือ ก.สุรางคนางค์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)นางสุกัญญา ชลศึกษ์หรือกฤษณา อโศกสินนางประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา(อุชเชนี),  ม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์ และนางสุภา สิริสิง หรือโบตั๋น  แต่ละท่านต่างก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี  ผลงานเขียนของท่านเหล่านี้ ที่นอกจากจะสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคม  ให้ความข้อคิด หลักธรรม  ในการดำเนินชีวิต และแฝงด้วยความรู้ในด้านต่างๆ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน เยาวชนคนอ่านแล้ว  หลายๆ เรื่องยังใช้ภาษาที่งดงาม เป็นตัวอย่างในการใช้ภาษาไทยอีกด้วย
สาขาทัศนศิลป์  มี คนคือ  นางแสงดา  บัณสิทธิ์ ด้านการทอผ้า และนางพยอม ลีนะวัฒน์ (ศิลปะงานผ้า) ทั้งสองท่าน ต่างก็มีชื่อเสียงในเรื่องความเชี่ยวชาญด้านผ้าของไทย อย่างนางแสงดา  บัณสิทธิ์ ท่านเก่งมากในเรื่องการทอผ้า และย้อมผ้าด้วยสมุนไพรล้วนๆ ไม่มีสารเคมีเจือปน สามารถประดิษฐ์คิดลวดลายผ้าได้อย่างล้ำเลิศ ยากจะหาผู้ใดเทียบ  กล่าวกันว่าผ้าหนึ่งหมื่นพับของท่านก็มีถึงหนึ่งหมื่นลาย  ท่านเป็นที่รู้จักดีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ  แม้ปัจจุบันท่านจะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ทายาทของท่านก็ยังดำเนินรอยตามท่านอยู่   ส่วนนางพยอม  ลีนะวัฒน์ นั้น ท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความเลิศในการทอผ้ายก และทำผ้ามัดหมี่  เป็นผู้ที่สามารถเอาลวดลายแบบประเพณีอีสาน มาปรับปรุงให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน โดยยังรักษาของเดิมไว้ได้  ผลงานของท่านถือเป็นการอนุรักษ์ศิลปะงานผ้าแบบประเพณีที่ประณีต และสวยงามเป็นพิเศษ จนได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  นอกจากนี้ ท่านยังได้เผยแพร่ความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง ทั้งที่ต้องการศึกษา และฝึกฝนศิลปะในงานผ้าเป็นอาชีพอีกด้วย
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม มี คนคือนางสาววนิดา พึ่งสุนทร ท่านเป็นทั้งอาจารย์ และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ด้านประเพณีเป็นอย่างมาก มีผลงานสร้างสรรค์มากมายล้วนเป็นที่ยอมรับ ในเอกลักษณ์อันโดดเด่นและมีคุณค่า  ท่านสามารถพัฒนาผลงาน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาผสมผสานจนมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ปัจจุบันแม้จะเกษียณแล้ว ก็ยังเป็นอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ด้านสถาปัตยกรรมแก่ศิษย์ และยังสร้างผลงานออกแบบอย่างสม่ำเสมอ
สาขาศิลปะการแสดง สตรีที่เป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาศิลปะการแสดงมีอยู่ถึง 31 คน ซึ่งแต่ละท่านก็จะมีความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวอย่างน่าทึ่ง  แม้หลายท่านจะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ผลงานและชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญถึง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงท่านที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นแบบอย่าง สัก 2-3 ท่าน ได้แก่
- นางสุดจิตต์ อนันตกุล (ดุริยประณีต)  ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และประสบการณ์ทางด้านดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง สามารถเล่นดนตรีไทยได้รอบวงตั้งแต่อายุเพียง ขวบ เป็นผู้มีน้ำเสียงในการขับร้องเพลงไทยที่แจ่มใสและไพเราะ และยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีก เช่น เป็นครูสอน และขับร้องและดนตรีไทยแก่สถาบันการศึกษา  เป็นผู้จัดรายการเพลงไทย ฯลฯ  และเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับวงการดนตรีไทยอย่างมากมาย ที่จะเป็นสมบัติสืบต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง
- นางประยูร  ยมเยี่ยม เป็นศิลปินที่มีความสามารถโดดเด่นมากด้านศิลปะพื้นบ้าน โดยเฉพาะความชำนาญด้านลำตัด  นอกจากนี้ ยังเก่งเรื่องเพลงพื้นบ้านอื่นๆ อีก เช่นเพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ฯลฯ เป็นผู้ที่มีความสามารถรอบตัว และมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้ยืนยาวมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ  ทั้งยังได้ใช้ลำตัดในการประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ  เคยไปแสดงต่างประเทศหลายครั้ง สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับสถานการณ์  และยังเป็นครูถ่ายทอดศิลปะวิชาแก่บุคคลและสถาบันต่างๆอยู่เสมอ
นางจุรี  โอศิริ เป็นทั้งนักแสดง และนักพากย์ที่มีความสามารถรอบตัว เป็นผู้มีศิลปะการใช้เสียงพากย์ได้ทุกบทบาท และสมจริงเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ชมทั้งในบทนางเอก  นางรอง ผู้ร้าย และย่า ยายพี่ป้าน้าอา เคยได้รับพระราชทานตุ๊กตาทองจากการพากย์ยอดเยี่ยม และได้รับตุ๊กตาทองจากการแสดงภาพยนตร์อีกเป็นจำนวนมาก
นอกจากทั้งสามท่านที่กล่าวมาแล้ว เรายังมีศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงในด้านต่างๆ อีกหลายท่าน เช่น  นางชูศรี สกุลแก้วหรือครูชื้น ที่เก่งเรื่องหุ่นกระบอกนางเจริญใจ สุนทรวาทิน ด้านคีตศิลป์นางบัวผัน จันทร์ศรี ด้านเพลงพื้นบ้านนางผ่องศรี วรนุช ด้านนักร้องลูกทุ่ง,นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ และส่องชาติ ชื่นศิริ ด้านละครรำนางฉวีวรรณ พันธุ ด้านหมอลำ,นางขวัญจิต  ศรีประจันต์ ด้านเพลงอีแซวคุณหญิงมาลัยวัลย์  บุณยะรัตเวช ด้านดนตรีสากล,นางสวลี ผกาพันธุ์ และนางรวงทอง ทองลั่นธม ด้านขับร้องเพลงไทยสากล เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าศิลปินแห่งชาติที่เป็นสตรีแต่ละท่าน ต่างก็อุทิศตนทำงานตามความรู้ ความสามารถ และทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติด้านศิลปะได้อย่างมากมาย   อีกทั้งยังช่วยสืบทอดงานวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติของชาติให้เป็นมรดกตกทอดต่อไปยังลูกหลานได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

 
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา : http://www.mcot.net/art&happy/view.php?news_id=164&news_type=1
         http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Dokya/D100/D100_58.html
         http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0185
         http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content3/show.pl?0259
         http://www.prd.go.th/Content/S_content4.asp