วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]


 อ้างอิง

  1. ^ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช






ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก




ประโยชน์จากไม้ไผ่








มหัศจรรย์ไม้ไผ่

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

 สกุล

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
  • Arundinaria
  • Bambusa
  • Chimonobambusa
  • Chusquea
  • Dendrocalamus
  • Drepanostachyum
  • Guadua angustifolia
  • Hibanobambusa
  • Indocalamus
  • Otatea
  • Phyllostachys
  • Pleioblastus
  • Pseudosasa
  • Sasa
  • Sasaella
  • Sasamorpha
  • Semiarundinaria
  • Shibataea
  • Sinarundinaria
  • Sinobambusa
  • Thamnocalamus

ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]


อ้างอิง

  1. ^ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ                                                              (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

เนื้อหา


[แก้] ลักษณะทั่วไป

มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

[แก้] ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

มะละกอ

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วย

ขนมจากกล้วยน้ำว้า


ขนมจากกล้วยน้ำว้า

วิธีการทำ
กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย สามารถนำมาทำผลิตผลประเภทอาหารได้ กล้วยที่ถูกนำออกผึ่งแดดเพื่อรอทำกล้วยอบน้ำผึ้ง มากมายหลายชนิด เช่น กล้วยปิ้งกล้วยบวชชี ผลิต ผลกล้วย หากมีจำนวนมากไม่สามารถบริโภคได้หมด จะเน่าเสียไปอย่างน่าเสียดายด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้คิดถนอมอาหาร นำกล้วยมาเป็นผลิต ภัณฑ์ชนิดต่าง ได้อย่างน่าสนใจ
ผลิตภัณฑ์กล้วยทั้ง 6 ชนิดดังต่อไปนี้ เป็น สินค้าของร้านบัวคำ .สกลนคร ได้ผลิต สินค้าดังกล่าวขึ้นจำหน่ายเป็นขนมที่มีผู้ จักกันดีใน .สกลนคร ดังมีรายละเอียด ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดดังนี้
1. กล้วยฉาบเค็ม
นำกล้วยดิบมาปลอกเปลือก นำเข้าเครื่องหั่นให้ กล้วยเป็นแผ่นเฉียง เป็นชิ้นบาง แล้วนำ ลงทอดน้ำมันปาล์ม ยกกะทะลงตักกล้วย ผึ่งให้เย็นโรยเกลือไอโอดีนให้ทั่ว บรรจุถุง เพื่อรอจำหน่ายต่อไป
2. กล้วยตากรสหวาน
ใช้กล้วยดิบที่ตัดผลขนาดพอดี ปอกเปลือก ใช้มีดหั่นสไลด์เป็นแผ่น หรือนำเข้าเครื่องหั่น ก็ได้ นำลงทอดในกะทะเช่นเดียวกับ กล้วยฉาบเค็ม เคี่ยวน้ำตาลทรายผสมเนย เป็นน้ำ เชื่อมข้น นำกล้วยคลุกกับน้ำเชื่อมแล้วตั้งทิ้ง ไว้ให้เย็น รอบรรจุถุงจำหน่ายต่อไป

หลังจากเข้าเตาอบฆ่าเชื้อโรคแล้วจึงนำมาเข้ากล่องบรรจุ ปิดผนึกรอจำหน่าย

3. กล้วยทอด
ใช้กล้วยที่สุกพอสมควร แต่ไม่ถึงกับ งอม กล้วยจะมีรสหวานโดยธรรมชาติ นำกล้วย ไปผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ทอกในกะทะ น้ำมันปาล์มจนได้ที่ยกลงตั้งไว้ให้ เย็น รอบรรจุหีบห่อ ส่งจำหน่ายต่อไป
4. กล้วยตากแผ่น
เลือกกล้วยที่สุกงอมที่มีขนาดพอดี แกะ เปลือกออกแล้วนำเข้าเครื่องหนีบให้แบนราบเป็น แผ่น แต่งขอบให้แผ่นกล้วยเป็นรูปกลมรี มี ขนาดเท่ากับภาชนะที่บรรจุ แล้วนำกล้วยไปผึ่ง แดดให้แห้งประมาณ 1 วันครึ่ง แต่ต้องพลิกกลับ ให้กล้วยแห้งเหลือแต่น้ำตาลธรรมชาติในเนื้อ กล้วย (อาจใช้วนิลาแต่งกลิ่นให้มีรส หอมตามที่ลูกค้าต้องการ) นำเข้าเตาอบ เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรค แล้วคัดเลือกกล้วย ที่มีตำหนิเช่นนี้ เช่น มีเส้นขาว ที่ เรียกว่า กระดูกโดยเฉพาะฤดูหนาวกล้วยมักมีไส้ เป็นเส้นเล็ก แข็ง กล้วยชนิดนี้จะถูก คัดออก นำกล้วยที่มีคุณภาพบรรจุกล่องปิด ผนึกส่งจำหน่ายต่อไป

กล้วยและผลิตผลเป็นสินค้า 6 ชนิด

5. กล้วยตากอบน้ำผึ้ง
นำกล้วยที่สุกงอม แกะเปลือกออกแล้วผึ่งแดด 1 วัน หลังจากนั้นจึงใช้ไม้ทุบไล่ให้ กล้วยแบน นำไปผึ่งแดดอีกวันจะพลิกกลับ ในเวลาเที่ยงวันเมื่อกล้วยแห้งแล้วจึงนำไป ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตากใหม่ให้แห้ง คลุกกับน้ำผึ้งทิ้งไว้ 1 คืน คลุมด้วยผ้าขาว ไว้ เพื่อให้น้ำผึ้งซึมเข้าเนื้อกล้วย
กล้วยชนิดนี้จะผลิตได้เฉพาะช่วงฤดูที่มี แสงแดดเท่านั้น ในช่วงฤดูฝนจึงไม่อาจ ผลิตสินค้าชนิดนี้ได้ และไม่อาจนำไป อบในเตาไฟซึ่งจะทำให้กล้วยมีกลิ่น ควันไฟ
6. กล้วยกวน
คือ กล้วยที่สุกงอมแล้ว และไม่ได้ขนาดที่ แต่ละชนิดต้องการ จึงปลอกเปลือกนำผลกล้วยเคี่ยว ลงในกะทะ กวนให้เหนียวจนได้ที่จึง ผสมน้ำกะทิเพื่อให้มีรสมันแล้วนำมา ทำเป็นชิ้นเล็ก ห่อด้วยกระดาษแก้วบรรจุถุง เพื่อจำหน่ายต่อไป
ประโยชน์
ผลิตผลจากกล้วย สามารถนำมาทำเป็นขนมแห้ง ทั้ง 6 ชนิด สามารถเก็บไว้ในภาชนะที่บรรจุหีบ ห่อได้เป็นเวลานาน 1-2 สัปดาห์ เมื่อต้องการ นำมาบริโภคอาจอุ่นให้ร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้เตาอบก็จะนำมารับประทานได้
การทำผลิตภัณฑ์จากผลกล้วยดังกล่าวทำได้ ไม่ยากนัก แต่ต้องอาศัยการสังเกตและเรียนรู้ จนเกิดประสบการณ์ ความชำนาญที่พ่อบ้านแม่บ้าน สามารถทำขึ้นเพื่อบริโภค หรือจำหน่ายเป็นรายได้เล็ก น้อย ในครอบครัว

Home Page โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์ของชาติสถานที่สำคัญบุคคลสำคัญวิถีชีวิตภูมิปัญญาของดีท้องถิ่นเอกสารสำคัญธรรมชาติวิทยาดัชนีข้อเสนอแนะ 
 
 
 
 
 
สรรพคุณของกล้วย
 
 
เคยสังเกตกันรึเปล่าว่าในการแข่งขันกีฬาระดับโลก อย่างเทนนิสเนี่ย พวกนักกีฬาเค้ามักจะกินผลไม้อะไรเป็นประจำในเวลาพักระหว่างเกม ... ฮี่ฮี่ ...ไม่น่าเชื่อว่ามันก็คือ "กล้วย" นั่นเอง!! กล้วย มีน้ำตาลธรรมชาติถึง 3 ชนิดเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซูโครส (Sucrose), ฟรุคโตส (Fructose) และ กลูโคส (Glucose) รวมไปถึงพวกไฟเบอร์หรือเส้นใยต่างๆ ซึ่งทำให้กล้วยกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ร่างกายสามารถนำมาใช้ได้ทันที จากการวิจัยพบว่า กล้วยเพียงแค่ 2 ลูกก็ให้พลังงานเพียงพอสำหรับการทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 90 นาทีได้ ไม่น่าแปลกใจเลยที่กล้วยเป็นผลไม้คู่กายอันดับหนึ่งของพวกนักกีฬาชั้นนำระดับโลกนอกจากกล้วยจะให้พลังงานมากมายแล้วกล้วยยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และเพิ่มความแข็งแรง สมบูรณ์ให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย อาทิเช่น โรคซึมเศร้า จากการสำรวจโดย MIND ในกลุ่มของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หลายๆ คนรู้สึกดีขึ้นเมื่อทานกล้วยเข้าไป นี่เป็นเพราะว่ากล้วยมีส่วนประกอบของ Tryptophan ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราจะเปลี่ยนให้เป็น Serotonin ที่รู้จักกันดีว่าจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
PMS (Premenstrual Sysdrome - อาการแปลกๆที่ผู้หญิงเป็นก่อนมีประจำเดือน) ลืมการกินยาไปได้เลย
กินกล้วยกันดีกว่า กล้วยมีส่วนประกอบของวิตามิน B6 ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งมีผลไปถึงอารมณ์ของคุณด้วย
โรคโลหิตจาง กล้วยมีธาตุเหล็กอยู่มาก ทำให้มันสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยรักษาอาการโลหิตจางได้
โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต
กล้วยมีโปแตสเซียม (Potassium) สูงมากในขณะที่มีเกลือต่ำ ทำให้มันเป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับความดันเลือด มันให้ผลดีขนาดที่ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมให้โรงงานผลิตกล้วยกล่าวอ้างได้ว่ากล้วยช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตได้ยุงกัด ก่อนที่จะไปหยิบเอายาทายุงกัดมาใช้ ลองเอาผิวด้านในของเปลือกกล้วยมาถูๆบริเวณที่ยุงกัดดู หลายคนพบว่ามันช่วยลดอาการบวมและคันได้อย่างไม่น่าเชื่อ (wow!!)
พลังสมอง นักเรียนกว่า 200 คนของโรงเรียน Twickenham กินกล้วยพร้อมอาหารเช้า ช่วงพัก และอาหารกลางวันเพื่อช่วยเพิ่มพลังสมองในการสอบของปีที่ผ่านมา จากการวิจัยพบว่ากล้วยซึ่งอุดมไปด้วยโปแตสเซียมนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นทำให้เรียนได้ดีขึ้นในที่สุด (wow!!)
โรคท้องผูก
กล้วยมีไฟเบอร์สูงช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของเรากลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกยาถ่ายต่างๆอีกต่อไป
อาการแฮงค์ (เมาค้าง)
หนึ่งในวิธีรักษาอาการแฮงค์ให้เร็วที่สุดก็คือการกิน Banana milkshake ผสมน้ำผึ้ง กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารของเรากลับมาอยู่ในสภาพปกติน้ำผึ้งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และนมจะช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายของคุณได้ด้วย
อาการเจ็บเสียดหน้าอก
กล้วยช่วยให้เกิดปฏิกริยาในร่างกายที่จะไปหักล้างพวกกรดในกระเพาะอาหารที่มีเยอะเกินไปได้ (กรดพวกนี้แหละที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บเสียดที่หน้าอก) การกินกล้วยจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้
Morning Sickness
(อาการคลื่นไส้และอาเจียนเวลาตื่นนอนตอนเช้าจะเป็นมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ระยะแรก) การกินกล้วยเป็นของว่างระหว่างมื้อจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณซึ่งสามารถช่วยลดอาการ morning sickness ได้
 
 
 
 
การแทงหยวกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะ
     
         การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท
          อุปกรณ์ ประกอบด้วย มีดสำหรับแทงหยวก โดยการตีดิบ ไม่ต้องเอาไปเผาไฟ ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ วัสดุที่ใช้ คือ ต้นกล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งาน จึงนิยมใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้าสาว คือต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่าย กระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจน
          ขั้นตอนการแทงหยวกและประกอบเข้าเป็นลายชุด นั้น มี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือขั้นเตรียมหยวกกล้วย ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก และขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีคุณค่าสูงด้านศิลปะ จิตใจ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงควรได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
          ในปัจจุบัน คำว่า “ร้านม้า” จะไม่ค่อยได้ยินบ่อยนักหรือบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินเลยก็ว่าได้ หรือ อาจจะได้ยินแล้วก็ตีความตามรูปคำไปเลยว่าเป็นที่ม้าอยู่อาศัยหรือ ที่เลี้ยงม้า ขายม้า จึงขอนำเสนอเรื่องร้านม้า เเละการสลักหยวกกล้วย (เเทงหยวก)
            การสลักหยวกหรือการแทงหยวก เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งที่อยู่ในช่าง สิบหมู่ ประเภทช่างสลักของอ่อน ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี ขึ้นไป มีประเพณีที่เกี่ยวกับการแทงหยวกกล้วยอยู่ 2 อย่าง คือ การโกนจุกเเละการเผาศพ (โดยเฉพาะศพผู้ที่มีฐานะปานกลาง) งานโกนจุกหรือประเพณีการโกนจุก จะมีการจำลองเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อ เเล้วตกเเต่งภูเขาด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ส่วนภูเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ตรงกลางร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้เเล้วหุ้มด้วยหยวกกล้วยเเกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ประเพณีการเผาศพก็เช่นกันจะทำ ร้านม้า ซึ่งทำโครงสร้างด้วยไม้แล้วประดับด้วยหยวกกล้วยแกะสลักอย่างงดงาม

           การสลักหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัดจนเกิดความชำนาญพอสมควร เพราะการสลักหยวกกล้วยนั้นช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อนจับมีดได้ก็ ลงมือสลักกันเลยทีเดียว จึงเรียกตามการทำงานนี้ว่า “การแทงหยวก” ประกอบกับมีดที่ใช้มีปลายเเหลม เมื่อพิจารณาดูเเล้วก็เหมาะสมที่จะเรียกว่า “แทงหยวก”
การแทงหยวกกล้วย
          หยวก คือ ลำต้นกล้วยที่ลอกออกมาเป็นกาบหรือแกนอ่อนของลำต้นกล้วย มีสีขาว งานเเทงหยวกมักใช้หยวกหรือกาบกล้วยตานี เพราะมีสีขาวดีและไม่สู้ที่ จะเปลี่ยนสีเร็วนัก
           งานแทงหยวก คือ การนำเอากาบกล้วยมาทำให้เป็นลวดลายต่างๆโดยวิธีแทงด้วยมีดเเทงหยวกใช้สำหรับการประดับตกเเต่งที่เป็นงานชั่วคราว ตัวอย่างเช่น การประดับเบญจารดน้ำ ประดับร้านม้าเผาศพ ประดับจิตรการธารการเเกะสลัก หยวกกล้วยนั้นจะทำใน พิธีโกนจุกงานศพ

          ในวรรณคดียังปรากฏถึงความสำคัญของการแกะสลักหยวกกล้วย ที่ปรากฎในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน เมื่อพระไวยแล้วกล่าวถึงการทำพี้ว่า ให้ขุดศพนางวันทองขึ้นมา แล้วกล่าวถึงการทำพิธีว่าสถานที่วางหีบศพนั้นตกแต่งอย่างสวยงามเเละวิจิตรพิสดารเป็นรูปภูเขา มีน้ำตกมีสัตว์ต่างๆ มีกุฏิพระฤษี มีเทวดา เช่น รามสูร เมขลา ที่ตั้งศพที่เป็นภูเขานี้เห็นจะเป็นประเพณีไทยที่เก่าเเก่ ที่ทำเช่นนั้นก็คงหมายถึงว่าเขา พระสุเมรุคงเป็นที่เทวดาอยู่ตรงกับสวรรค์ ผู้ตายนั้นถือว่าจะต้องไปสวรรค์ เช่น พระเจ้าแผ่นดินตาย เรียกว่า “สวรรคต” จึงนิยมทำศพให้เป็นภูเขา พระสุเมรุหรือเมรุคือทำที่ตั้งเป็นภูเขาทั้งสิ้น ต่อมาคงจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น งานหลวงเล็กทำเป็นภูเขา เปลี่ยนทำเป็นเครื่องไม้เพราะอาจทำให้สวยงามให้เป็นชั้นลดหลั่นลงมาเป็นเหลี่ยมจะหักมุมย่อให้วิจิตรพิสดารอย่างใดก็ได้ เเต่เเม้จะเอาภูเขาพระสุเมรุ จริง ๆ ออกไปก็ยังคงเรียกเมรุตามที่เคยเรียกมา เมรุ จึงกลายเป็นที่ตั้งศพไป
ขั้นตอนการแทงหยวกกล้วย
         ขั้นตอนแรกจะต้องเลือกต้นกล้วยตานีหรือต้นกล้วยน้ำว้าต้นสาวๆ คือ ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกผล ถ้าออกปลี ออกลูกแล้วจะใช้ไม่ได้เพราะกาบกล้วยจะกรอบเปราะหักง่าย แต่ถ้าเป็นต้นกล้วยที่ยังสาวๆ ไม่มีลูกกาบกล้วยจะอ่อนเหนียวไม่หักง่าย ต้องเลือกต้นใหญ่พอสมควร ร้านม้าเผาศพทั่วไปจะใช้ประมาณ 10 ต้น ต่อร้านม้า 1 ครั้ง
          เมื่อได้ต้นกล้วยมา ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ จนถึงแกนของลำต้นให้เหลือประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 นิ้ว เอาไว้ทำฐานล่างเมื่อลอกกาบกล้วยออกมาแล้วก็ต้องคัดขนาด คือกาบใหญ่ๆ รอบนอกก็เอาไว้สำหรับแทงลาย ต่าง ๆ ส่วนกาบเล็ก ๆ ก็ใช้ทำอกกลาง
         ประเภทลวดลายในการทำหยวกดูแล้วไม่ยากเพราะมีไม่กี่ชนิด คือ ฟันปลา ฟันสาม ฟันห้า ฟันบัว แข้งสิงค์ เเละลาบอก ซึ่งจะทำเป็นลายกนกต่าง ๆ ตามความถนัดเเละเน้นที่ความสวยงาม เเต่ถ้าทดลองทำจริงๆ เเล้วยากพอสมควร เมื่อทำลายต่างๆ ได้เพียงพอตามความต้องการเเล้วถึงขั้นตอนการประกอบหยวก เพื่อทำเป็นเสาล่าง พรึง เสาบน รัดเกล้าเเละฐานล่าง โดยใช้ตอกผิวไม้ไผ่เย็บให้ติดกันเเล้วติดเเต่งมุมให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ
          ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการถ่ายทอดวิชาช่างประเภทนี้มากนักเพราะขาดผู้สนใจและนิยมใช้ ประกอบกับช่างเเทงหยวกต้องไม่กลัวผีเพราะต้องทำตอนกลางคืน ส่วนใหญ่จะทำที่วัด ล่วงหน้าก่อน 1 คืน ต้องทำกลางคืนและติตตั้งเช้า หยวกกล้วยจะไม่เหี่ยวเเห้ง ยังคงความสวยงามอยู่จนถึงเวลาประชุมเพลิง

          จังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรากฏหลักฐานผลงานฝีมือช่างอยู่หลายสาขา การแทงหยวก เป็นงานศิลปะ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของช่างเมืองเพชรสาขาหนึ่ง ที่ได้รับการกล่าวขานถึงไม่แพ้สาขาอื่น เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป และช่างแทงหยวกของเมืองเพชร
          ภาพและข้อมูลที่นำมาเสนอในที่นี้ เป็นผลงานของปรามาจารย์ช่างแทงหยวกชาวเพรบุรีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี คุณลุงประสม สุสุทธิ เป็นหัวหน้า ช่างกลุ่มนี้เคยมีผลงานที่นำความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ ก็คือ การได้ร่วมแทงหยวก ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จย่าฯ

          สำหรับงานที่ช่างเตรียมแทงหยวกกันที่นำมาเสนอนี้ เป็นงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่น้อม แฉ่งฉายา ที่วัดเพรียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีท่านอาจารย์บุญมา แฉ่งฉายา เป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 ในโอกาสนี้ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ได้บันทึกภาพขั้นตอนวิธีทำตั้งแต่ต้นจนจบไว้ พร้อมทั้งจัดทำคำบรรยายประกอบภาพ โดยมีคุณลุงประสม สุสุทธิ เป็นผู้ตรวจทานแก้ไขแล้ว และได้ขออนุญาตคุณลุงประสม นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยยินดีให้ทำการคัดลอกเนื้อหา และภาพประกอบไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาโดยไม่ต้องขออนุญาตอีกด้วย
           งานแทงหยวก เป็นงานศิลปะ อันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นำหยวก หรือกาบจากต้นกล้วย ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ มาแกะฉลุเป็นลายไทย ใช้ในการประดับเชิงตะกอนเผาศพ ปกติในการเผาศพของคนเมืองเพชร มักจะมีการตั้งเมรุ และนิยมตกแต่งเชิงตะกอนด้วยหยวก แต่ภาพที่เห็นจากงานนี้ไม่มีการตั้งเมรุ แต่จัดบริเวณตั้งศพบำเพ็ญกุศลแบบธรรมดา ประดับบริเวณด้วยดอกไม้สดสวยงาม ในภาพนี้ยังไม่ได้ตั้งเชิงตะกอน ซึ่งปกติ การตั้งเชิงตะกอนอาจจะทำเตรียมไว้ตั้งแต่เริ่มตั้งศพบำเพ็ญกุศล หรือจะตั้งก่อนที่จะทำการเผาศพก็ได้

****ข้อมูลhttp://www.bmp.ac.th/ThaiWisdom/Yuak/Y00006.html
http://ilwc.aru.ac.th/Contents/ArtCraftThai/ArtCraftThai8.htm
http://intranet.m-culture.go.th/phetchaburi/wisdom.htm 







ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีการปลูกกล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ทำรายได้เข้าจังหวัดปีหนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ “กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไปมองเป็นผลไม้ธรรมดา ๆ กลายเป็นพืชที่มีราคา กล้วยไข่เมืองกำแพง มีรสชาดดี เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ จึงทำให้กำแพงเพชรเป็นเมืองที่ได้รับฉายาว่า “เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประเทศ
            มีคนเล่าว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกกล้วยไข่ครั้งแรกที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มาปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุดไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างขวางเพียงพอต่อผลผลิต ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
          วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่ทางหน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรมของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่ โดยยึด แนวคตินิยมพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมทำบุญเดือน 10 หรือ “สารทไทย”
            สำหรับชาวกำแพงเพชรที่ฟื้นฟูประเพณีโบราณให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการขายกล้วยไข่ของตนในฤดูกาลนี้ ก็เพราะกล้วยไข่มีผลผลิตออกชุกในช่างเดือนกันยายนนี้พอดี ประกอบกับผลไม้อื่นๆ ในช่วงนี้ไม่มีออกด้วย เมื่อมีงานบุญใดๆ ก็ตาม จึงต้องมีผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของหวาน และของหวาน และของหวานที่นิยมทำกันในงานสารทไทยนี้ก็คือ“กระยาสารท” รสชาติค่อนข้างหวานจัด จึงต้องรับประทานกับกล้วยไข่เป็น “เครื่องเคียง” ที่สำคัญมาก “งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2524 จากพื้นฐานของงานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยในอดีต สอดคล้องกับการมีผลผลิตมากมายในท้องถิ่น จึงเป็นจุดเด่นของงานประเพณีนี้  งานประณีสารทไทยกล้วยไข่ กำหนดให้มีขึ้นในช่วงวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 คำ เดือน 11

กล้วย

กลุ่มยาขับน้ำนม
กล้วยน้ำว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'
ชื่อสามัญ  Banana
วงศ์  Musaceae
ชื่ออื่น :  กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
ส่วนที่ใช้ :
สรรพคุณ :
  • รากแก้ขัดเบา
  • ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
  • ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
  • ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
  • ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
  • กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
  • กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
  • หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
  • แก้ท้องเดินท้องเสีย
    ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง
สรรพคุณเด่น :
  • แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
    1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
    2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
    3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
สารเคมีที่พบ :
  • หัวปลี  มีธาตุเหล็กมาก
  • หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
    ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
    Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
  • ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
  • กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
  • น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin
ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
          กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
  • รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
  • รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
  • รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น