การทำน้ำหมักชีวภาพ
1.1 วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด
ส่วนผสม
ส่วนผสม
1.พืชสดทั่วไปที่หาได้ในหมู่บ้าน เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักขม 3 ปี๊บ
ผักเสี้ยน หรือพืชสีเขียวที่สดตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ รวมกัน
2.กากน้ำตาล 1 ปี๊บ
3.เปลือกสับปะรด 1 ปี๊บ
4.น้ำมะพร้าว (ถ้ามี) 1 ปี๊บ
วิธีทำ
นำพืชสด กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด และน้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าด้วยกันบรรจุลงในถังพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 30 วัน ขึ้น จึงสามารถใช้ได้
ประโยชน์และวิธีใช้
มะละกอ กล้วเร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 – 4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุกๆ 5 – 7 วัน
ใช้แช่เมล็ดก่อนเพาะปลูก 12 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มอัตราการงอก น้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แช่เมล็ดพันธุ์
1.2 วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้
ส่วนผสม
1.ผลไม้สุก เช่น ฟักทอง มยน้ำว้า หรือมะเขือเทศ 2 ปี๊บ
2.พืชสดหลายๆ ชนิด สับเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ปี๊บ
3.กากน้ำตาล 1 ปี๊บ
2.พืชสดหลายๆ ชนิด สับเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ปี๊บ
3.กากน้ำตาล 1 ปี๊บ
วิธีทำ
นำผลไม้ พืชสด มาสับให้ละเอียด หรือยาวประมาณ 1 นิ้ว กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด น้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าเข้ากันบรรจุลงในถังพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 30 วันขึ้นไป จึงสามารถใช้ได้
ประโยชน์และวิธีใช้
เร่งการติดดอก ติดผล ของพืชผัก ผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 – 4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุกๆ 5 – 7 วัน ตั้งแต่ระยะ พืชออกดอก และติดผลได้
1.3 วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์
ส่วนผสม
1. หอยเชอรี่บด หรือทุบให้ละเอียด หรือปลาป่น 1 ปี๊บ
2. กากน้ำตาล 1 ปี๊บ
3. น้ำ 1 ปี๊บ
วิธีทำ
นำหอยเชอรี่ทุบหรือบดละเอียดหรือปลาป่น กากน้ำตาล หรือเปลือกสับปะรด ผสมคลุกเคล้าด้วยกัน บรรจุลงในถังหมักปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มนาน 6 เดือน นำไปใช้
ประโยชน์และวิธีใช้
เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่นๆ
2. วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช
2.1 ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น เพียงแต่เปลี่ยนชนิดพืชผัก ผลไม้ เป็นชนิดพืชที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ นาสูบ บอระเพ็ด สาบเสือ อื่นๆ
2.2 นำพืชดังกล่าวมาทุบหรือตำให้แหลก แช่น้ำหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นพืชได้
วิธีทำ
นำพืชสด กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด และน้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าด้วยกันบรรจุลงในถังพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 30 วัน ขึ้นไป จึงสามารถใช้ได้
ประโยชน์และวิธีใช้
ขับไล่แมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ใช้ทุกๆ 5 – 7 วัน
2.3 ข้อเสนอแนะ และวิธีใช้น้ำหมักชีวภาพ
- การผสมน้ำหมักครั้งแรก 1 ปี๊บ กากน้ำตาล 1 ปี๊บ และน้ำเปล่า 10 ปี๊บ ผสมให้เข้ากันใส่ถังปิดฝาเก็บไว้ 7 วัน ใช้งานได้
- ใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่น ราด รด พืชผัก ผลไม้ สัตว์เลี้ยง ดับกลิ่น ราดแผลที่สัตว์จะทำให้หายเร็ว ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็นจะได้ผลมากกว่า เพราะน้ำหมักชีวภาพเป็นสิ่งมีชีวิตและเมื่อถูกแสงแดดมากจะได้ผลเร็ว คือ จุลินทรีย์จะเป็นประโยชน์มาก
- การหมักให้หมั่นเขย่าถังหมักพร้อมเปิดฝาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้พิสูจน์โดยการดมจะมีกลิ่นหอมหวาน แสดงว่าใช้ได้ ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลหมักไว้จนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน การเก็บน้ำหมักต้องเก็บไว้ในที่มืดสามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
- การใช้น้ำหมักชีวภาพ ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
- ไม่ควรใช้น้ำหมักชีวภาพร่วมกับการใช้สารเคมีทุกชนิด
- ใช้วัสดุหมักที่สะอาดและไม่เป็นโรค
2.4 การทำปุ๋ยหมัก
ส่วนผสม
1. ปุ๋ยคอก 3 ปี๊บ
2. แกลบดำ (ผ่านการเผา) 1 ปี๊บ
3. รำละเอียด 1 ปี๊บ
4. อินทรียวัตถุที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าว ใบไม้แห้ง ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ปี๊บ
5. น้ำหมักชีวภาพ 1 ปี๊บ
6. กากน้ำตาล 1 ปี๊บ
7. น้ำ 100 ปี๊บ
คนจนละลายเข้ากัน
วิธีทำ
นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม กองปุ๋ย หมักหนา ประมาณ 15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบพลิกกลับวันละ 1 ครั้ง หมักไว้ 3 – 5 วัน ใช้มือจับดูว่าเย็นหรือร้อน ถ้าเย็นก็สามารถนำไปใช้ได้
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน