|
|
จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี2535ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21 |
มีการจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องน้ำของโลกขึ้นที่ประเทศต่างๆ ดังนี้ | |
ครั้งที่ 1: ปี 2540 ณ ประเทศโมร็อกโก |
ครั้งที่ 2: ปี 2543 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ |
ครั้งที่ 3: ปี 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น |
ในการประชุมหนแรกนั้น ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกำหนด “หลักจริยธรรมในการใช้น้ำครั้งใหม่”เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำโลกดังนั้น การประชุมน้ำโลกในครั้งที่สองจึงเป็นการสานต่องานที่ทำค้างไว้ โดยจะมีการผลักดัน " แผนปฏิบัติการ " สำหรับน้ำในอีก 25ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ชาวโลกมีน้ำสะอาดไว้ดื่มกิน ชำระร่างกาย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึงในปี 2568 ผู้รับหน้าที่ทำงาน คือ " คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยน้ำสำหรับศตวรรษที่ 21 " ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มการลงทุนในการจัดหาน้ำทั่วโลกขึ้นเป็นปีละ 180,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติได้มีสารเนื่องในวันน้ำโลก โดยย้ำว่า " น้ำสะอาดเป็นสิ่งพิเศษ ในศตวรรษใหม่นี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถผลิตน้ำได้ น้ำจึงไม่มีสิ่งใดมาแทนที่ หรือทดแทนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นคุณค่าของน้ำและรักษาทรัพยากรนี้ไว้ " เลขาธิการยูเอนยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำ ซึ่ง "สตรีเพศ" ในฐานะผู้จัดการครอบครัวจะต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ ตลอดจนการ " ปฏิวัติสีน้ำเงิน " |
|
หน่วยงานของสหประชาชาติ 2 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำโดยตรง คือ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก้) กับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสเคป) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั่วโลก ซึ่งน่าสนใจและมีหลายเรื่องที่คนทั่วยังไม่รู้และนึกไม่ถึง กล่าวคือ ยูเนสโกและเอสเคประบุว่า พื้นผิวโลก2ใน3ปกคลุมด้วยน้ำแต่เป็น " น้ำเค็ม " จากทะเลและมหาสมุทรทั้งหมด ส่วน " น้ำจืด " ซึ่งจำเป็นต่อการยังชีพของมนุษย์นั้น ครอบคลุมเพียงร้อยละ 1 ของผิวโลกเท่านั้น แต่ " แหล่งน้ำจืด " ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ,ใต้และธารน้ำแข็ง หรือซึมอยู่ใต้ผิวดินลึก จนมนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนแหล่งน้ำจืดที่ใช้ได้จริงๆมีเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่หาได้จากแม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำจืดเพียงน้อยนิดนี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิตพลโลกกว่า 6,000ล้านคน ซึ่งแน่นนอนว่าย่อมไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์กลับมีมากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่บันยะบันยัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของน้ำจืด จนตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง ยูเอนได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ำของมนุษย์ว่า ในแต่ละวันมนุษย์ต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2-5 ลิตร ใช้ชักโครกโถส้วม 5-15 ลิตร ใช้อาบน้ำ 50-200 ลิตรขณะที่ใช้น้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร ราวร้อยละ 70 ของน้ำทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งต้องสูญเปล่าเพราะซึมลงไปในดินหรือไม่ก็ระเหยขึ้นสู่อากาศหมด กรุงเทพมหานครของไทย ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เมืองที่ผลาญทรัพยากรน้ำมากที่สุดในโลก เฉลี่ยแล้วใช้น้ำราว 265 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะที่ชาวฮ่องกงใช้น้ำเปลืองน้อยที่สุดในโลก เพียง 112 ลิตร ต่อคนต่อวัน |
|
การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รับผิดชอบทำให้การไหลเวียนของแม่น้ำหยุดชะงักลง ระดับน้ำในแม่น้ำและน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มดินเปียกหายไป สภาพปนเปื้อนพิษจากมลพิษต่างๆทำให้คุณภาพน้ำลดลง จำนวนน้ำสะอาดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลกก็มีส่วนทำให้จำนวนน้ำจืดสำหรับใช้ในรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและขาดสุขลักษณะ เป็นสาเหตุทำให้เด็กทารก ในเอเชียและแปซิฟิกเสียชีวิตกว่าปีละ 5 แสนคน นอกจากนี้สถิติของสหประชาชาติเมื่อสิ้นปี2542 พบว่ามีประชากรโลกราว 2,400ล้านคน ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากระบบสุขอนามัยเกี่ยวกับน้ำที่ทันสมัย หน่วยงานของสหประชาชาติได้เสนอแนะทางออกในปัญหานี้หลายข้อ อาทิ การอนุรักษ์น้ำ , การบำบัดน้ำเสีย, การปรับเปลี่ยนหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ , การจัดการเรื่องน้ำและดินให้เหมาะสม , การทำวิจัยแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ , ออกกฎหมายการใช้น้ำที่ทันสมัย , การจัดสรรน้ำอย่างเสมอภาค และการปลุกจิตสำนึกในหมู่ประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ ยิ่งกว่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตัวบุคคล , องค์กร , อาสาสมัคร , ภาคอุตสาหกรรม , รัฐบาลท้องถิ่น , รัฐบาลกลาง ตลอดจน องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง |
และในการประชุมครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 200 ประเทศ |
การประชุมครั้งนี้ รัฐบาลไทยจะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการประชุม 3 ประการได้แก่ |
1. การเสนอรายงานโครงการประเมินสถานการณ์น้ำของโลกในส่วนของประเทศไทยกรณี ศึกษาการพัฒนาและบริหารลุ่มน้ำเจ้าพระยา |
2. การเสนอแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ ของประเทศไทย |
3. การประชุมและจัดทำแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี |
ในการประชุมระดับโลกทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันการจัดการน้ำระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าว อาทิเช่น World Water Council (WWC), Clobal Water Partnership (GWP) และธนาคารโลก ต่างใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอทิศทางหรือการจัดทรัพยากรน้ำและการแบ่งปันผลประโยชน์ (Water Resources Management and Benefit Sharing) โดยมีประเด็นใจกลาง 4ประเด็น ได้แก่ หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ – เอกชน (Public Private Partnership), เขื่อนกับการพัฒนา (Dam and Development Partnership), ค่าคืนทุน (Cost Recovery), การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management) ซึ่งสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ | |
การแปรรูปกิจการประปาหรือระบบชลประทานของรัฐ (Privatization) ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกผลักดันจากการประชุมระดับนานาชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การประชุมเรื่องน้ำจืดโลกที่กรุงบอน เดือนธันวาคม 2544 หรือ การประชุมที่โจฮันเนสเบิร์ก แนวทางเช่นนี้ถูกใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมให้บริษัทข้ามชาติด้านกิจการน้ำประปาเข้ามา ลงทุนหรือรับสัมปทานในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมาก เช่น ประเทศโบลิเวีย
แนวความคิดในเรื่องการคิดค่าคืนทุนระบบชลประทานหรือระบบการลงทุนด้านการจัดหาน้ำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทที่มาลงทุนในแต่ละประเทศ และการส่งเสริมระบบการค้าเสรีของโลก |
การส่งเสริมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบของเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อการบรรเทาน้ำท่วม ซึ่งผลักดันโดย UNDP ได้จัดทำโครงการ Dam and Development Partnership และ World Commission on Dam (WCD) การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ Integrated Water Resources Management (IWMI) โดยมีแนวทางให้เกิดองค์กรระดับลุ่มน้ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ) | |
|
|
|
ที่มา : http://www.geocities.com/Eureka/Park/1476/waterday.html |
http://www.lungkao.org/xboard/viewthread.php?tid=48 |
http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/water_day.html
|
|
ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล" |
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ |
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด | |
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์ ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น |
|
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง |
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี | |
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา |
|
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก |
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ |
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_09_16.htm |
http://www.hunsa.com/variety/new16.shtml |
http://www.thai.net/smileman/wonosone.htm |
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm |
|
|
ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา |
|
นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก |
|
ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า |
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันปลอดควันพิษจากไฟป่า” | |
|
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า |
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยราชการ องค์กรเอกชน ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า |
3. เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า |
|
1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า |
2. กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ) |
2.1 การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง |
2.2 การทำแนวกันไฟ โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า |
|
ที่มา : http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html |
http://www.geocities.com/firecontrol13/24febtext.html |
http://www.forest.go.th/ForestFire/24%20feb.htm |
http://www.geocities.com/firecontrol35/ron1.html
|
|
|
|
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อมขึ้นจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน |
วันที่ 14 มกราคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ ดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและพื้นที่ เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532 |
|
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จำเป็นต้องทำการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้งได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น"ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กำหนดให้วันที่ 14มกราคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ” |
|
|
1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532 |
2. เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้และภาคอื่นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไป |
3. เพื่อระลึกถึงมาตรการอันเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลที่ได้สั่งปิดป่า ระงับการทำไม้ในป่าสัมปทาน ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ |
|
|
1.ผลทางตรงที่เกิดขึ้นก็คือ การทำไม้ในป่าสัมปทาน จำนวน276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน เป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ใช้สอยในอนาคต คิดเป็นเนื้อไม้เฉลี่ยปีละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลกโดยตรง | |
2. ด้านนโยบายของรัฐบาล เป็นการตอบสนองนโยบายการป้องกันรักษาป่าและนโยบายป่าไม้แห่งชาติ |
3. ด้านสังคมและการเมือง ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ทำให้มีการใช้ไม้อย่างประหยัด และส่งผลให้สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ เป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติได้ตลอดไป |
|
|
เพื่อให้การจัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเจตนารมย์ของทางราชการจึงสมควรได้รับการสนับสนุน ดังนี้ |
ภาคราชการ จัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ การบรรยายความรู้ในสถานศึกษา ประกวดวาดภาพป่าไม้ แจกเอกสารเผยแพร่แจกกล้าไม้แก่ประชาชน ตลอดจนจัดประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไป เชิญชวนให้ประชาชนงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งร่วมกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ในทุกท้องที่ |
ภาคเอกชน ประชาชนควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางราชการเท่าที่สามารถจะทำได้ ควรถือเอาวันที่ 14 มกราคม เป็นวัน ลด ละ เลิก การบุกรุกแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า และร่วมมือร่วมใจกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนที่ถูกตัดทำลายไปให้มากที่สุด |
|
|
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน เยาวชน จะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการ จัดให้มีขึ้นทุกท้องที่ในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเพื่อสนับสนุนนโยบายการป่าไม้แห่งชาติ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของทุกคนในชาติตลอดไป |
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/list_envday.htm |
http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html |
http://www.thai.net/huaikum/14jan.html
|
|
|
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันรักการอ่าน" กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งคนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่องและทั่วถึง พร้อมกันนี้ วันที่ 2 เมษายน ของทุกปียังเป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ อีกด้วย |
จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกปลูกฝังการอ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะมีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน ทั้งสติปัญญา ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม |
โครงการส่งเสริมการอ่าน จึงเป็นอีกหนึ่งในมาตรการของรัฐ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย ด้วยการส่งเสริมให้เกิดหนังสือดีราคาถูก ถึงมือเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึง หนังสือเล่มแรก (Book start) ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด |
|
มาตรการ 5: การส่งเสริมการอ่าน |
|
แนวคิด: |
การส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและเข้าถึงหนังสือคุณภาพ |
จากอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยังน้อย เฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่ สิงค์โปร์และเวียตนาม 40-60 เล่มต่อคนต่อปี (ปี2549) |
อัตราการอ่านหนังสือของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งหนังสือที่อ่านส่วนใหญ่คือตำราเรียน และอัตราการอ่านลดลงตามลำดับเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง (จากประชากรผู้ที่อ่านหนังสือร้อยละ69.1ในปี2548 เหลือ 66.3ในปี 2551) ทั้งนี้เพราะมีสื่ออื่นที่สนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกม เป็นต้น( สนง.สถิติแห่งชาติ 2551) |
อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ 0.22 ของรายได้ต่อหัว (ปี2550) |
|
|
|
ปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่อ่านหนังสือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งจากครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐบาล ที่ผ่านมาการรณรงค์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสังคมไม่มีเอกภาพ และไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน หรือสนับสนุน |
การส่งเสริมการอ่าน จึงต้องมีการดำเนินการไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านของอุปสงค์ (Demand side) คือการสร้างพฤติกรรมการอ่าน การกระจายหนังสือให้ถึงมือเด็ก และการรณรงค์สร้างกระแสรักการอ่าน และด้านอุปทาน (Supply side) คือ มาตรการทางภาษี ที่ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง การขยายช่องทางเผยแพร่ใหม่ๆ และการพัฒนาคุณภาพหนังสือ |
ตัวอย่าง โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start) เครือข่ายหนังสือเพื่อเด็ก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการหนังสือเล่มแรก เพื่อสร้างกระแสรักการอ่าน ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด |
จากผลการวิจัยที่ติดตามพัฒนาการของเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ไปจนถึงอายุ 5 ขวบ เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับหนังสือ พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพัฒนาการดีในทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ทักษะทางภาษา และคณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม |
|
แนวทาง: |
1. รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านระดับชาติ ที่มีองค์ประกอบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ (อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้มีการจัดทำแผนแม่บท ยุทธศาสตร์ และดำเนินการด้านกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น |
2. รัฐบาลสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือให้ห้องสมุดชุมชน และกระจายหนังสือดีให้ถึงเด็กและครอบครัวในชุมชน รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนที่มีร้านค้าสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้จัดมุมจำหน่ายหนังสือดีราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและหาซื้อได้ง่าย |
3. รัฐบาลกำหนดมาตรการทางภาษี (เช่น ให้ธุรกิจหนังสือเด็กอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0%) เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตหนังสือคุณภาพออกเผยแพร่มากขึ้น และการลดหย่อนจากเงินบริจาคให้แก่กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน |
4. รัฐบาลประกาศเรื่อง การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้เริ่มในวันหนังสือเด็กแห่งชาติ (2 เมษายน 2552) |
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น