ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน
วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย
Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น
ไผ่จีน (
Arundinaria suberecta Munro)
ไผ่ป่า (
Bambusa arundinacea Willd.)
ไผ่สีสุก (
B. flexuosa Munro และ
B. blumeana Schult.)
ไผ่ไร่ (
Gigantochloa albociliata Munro)
ไผ่ดำ (
Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ
หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
สกุล
ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90
สกุล และ 1,000
ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้
- Arundinaria
- Bambusa
- Chimonobambusa
- Chusquea
- Dendrocalamus
- Drepanostachyum
- Guadua angustifolia
- Hibanobambusa
- Indocalamus
- Otatea
- Phyllostachys
- Pleioblastus
- Pseudosasa
- Sasa
- Sasaella
- Sasamorpha
- Semiarundinaria
- Shibataea
- Sinarundinaria
- Sinobambusa
- Thamnocalamus
ไผ่ในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้
[1]
- ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
- ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
- ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
- ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
- ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
- ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
- ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
- ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
- ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
- ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
- ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
- ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
- ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
- ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
- ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
| - ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
- ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
- ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
- ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
- ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
- ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
- ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
- ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
- ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
- ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
- ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
- ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
- ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
- ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
- ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)
|
อ้างอิง
- ^ ไผ่ ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น