วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำหมักชีวภาพจากพืชสด

น้ำหมักชีวภาพจากพืชสด
ส่วนผสม


เศษผัก          3  กิโลกรัม
กากน้ำตาล   1  กิโลกรัม

วิธีทำ

นำผักหรือเศษผักที่เราจัดเตรียมใส่ภาชนะ เช่น โอ่งหรือถังพลาสติกพักไว้
นำกากน้ำตาลมาคลุกเคล้าผสมกับเศษผักตามอัตราส่วนที่กำหนด หรือจะเพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้นก็ได้ตามต้องการ
แล้วหมักทิ้งไว้ โดยหาของหนักกดทับไว้
หมักนานประมาณ 7-10 วัน น้ำหมักจะเริ่มออกเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่น  หอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมักมีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นบูด แปลว่าน้ำตาลไม่พอให้ใส่เพิ่มกอกน้ำตาลลงไปอีกกลิ่นบูดจะค่อย ๆ หายไป
หมักต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อมีน้ำหมักออกมาให้ตวงใส่ขวดหรือใส่ภาชนะอื่น  เก็บไว้  เก็บในที่มืดในห้องธรรมดา จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน – 1 ปี ในกรณีที่มีการเก็บไว้หลาย ๆ วัน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวภายในภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือน้ำ นั่นคือการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้สักครู่  ฝ้าขาวจะสลายตัวลงไปอยู่ภายในน้ำหมักตามเดิม





ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)


การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์
เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นที่เรียบ ๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)
ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นซีเมนต์
กระสอบป่านเก่า ๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว
ถังฝักบัวรดน้ำ
พลั่วจอบ
ส่วนผสม
เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน  ฟาง  เปลือกถั่ว  แกบลเผา  ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียว หรือหลายอย่างผสมกันโดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)
แกลบ  10  ปี๊บ
มูลสัตว์  10  ปี๊บ
รำอ่อน  1  ปี๊บ
น้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างน้อย 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว
วิธีผสม
นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากัน  แล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลรดให้ทั่ว
เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อย ๆ (โดยผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลตามสัดส่วนที่กำหนดในน้ำแต่ละถัง) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย
ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลวม ๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้
เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด
ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาว ๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน
ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่งแล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม
อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีกเมื่อปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้


ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคแมลงและศัตรูพืช

มูลสัตว์  1  ส่วน
แกลบเผา  1  ส่วน
รำละเอียด  1  ส่วน
น้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างน้อย 2 ช้อนแกง
น้ำ  10  ลิตร
วิธีผสม
ผสมมูลสัตว์  แกลบเผาและรำละเอียดเข้าด้วยกัน
นำน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)
เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน   ทิ้งไว้ 3-5 วัน  โดยไม่ต้องกลับ  เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช  พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทานเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วย
ส่วนผสม
น้ำหมักพืช 1 ขวด
กากน้ำตาล 1 ขวด
เหล้าขาว 1 ขวด
น้ำส้มสายชู 1 ขวด
น้ำสะอาด 10 ขวด


วิธีผสม

นำกากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายแล้วใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู
ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากัน
ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)
ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวัน เช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายก๊าซออก
ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว
วิธีใช้
นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น    (ใช้บ่อย ๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น
พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจางลง
หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่น สะเดา  ข่า  ตะไคร่หอม  ยาสูบ  โดยนำน้ำแช่สมุนไพรใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง    (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


วิธีผสม


ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา  แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม  หนอนชอนใบ ฯลฯ  โดยใช้สันส่วน  หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ     200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม
ใช้กำจัดเห็บ  หมัดในสัตว์เลี้ยง
ใช้กำจัดเหา  โดยเอาน้ำราดผมให้เปียก  แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้น  ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที  แล้วล้างออกให้สะอาด


ส่วนผสม

กล้วยน้ำว้าสุก  ฟักทองแก่จัด  มะละกอสุก  อย่างละ 1 กิโลกรัม
น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล อย่างละ 1  ช้อนแกง
น้ำสะอาด  5  ลิตร
วิธีผสม
สับกล้วย  ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด
ผสมน้ำหมักพืช  กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน
นำส่วนผสมข้อ 1 และข้อ 2 คลุกเข้ากันให้ดี
บรรจุลงในถุงปุ๋ย  หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 7-8 วัน
วิธีใช้
นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแก้ง ต่อน้ำ     5 ลิตร
ใช้ฉีดพ่นหรือรดน้ำต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี
ส่วนที่เป็นไขมันเหลือง ๆ ในถังปุ๋ยให้ทากิ่งตอน  กิ่งปักชำ  กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
นาข้าว ในพื้นที่ 1 ไร่  ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้
ไถพรวน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กิโลกรัม (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว
ผสมน้ำหมักพืช 2 แก้ว  กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน  ทิ้งไว้ 15 วัน  เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว
หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด
ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราดเพื่อดำนาต่อไป
ไถคราด
å พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง
å ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
หลังปักดำ 7-15 วัน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
ข้าวอายุ 1 เดือน
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว


ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กิโลกรัมต่อไร่
ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช ในอัตราส่วน น้ำ 1 ถังแดง ต่อน้ำหมักพืชและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
การป้องกันศัตรูพืช
ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น
หมายเหตุ
ต่อพื้นที่ 1 ไร่  จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก  แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้ว  ปีต่อ ๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ  แต่ในช่วงปีต่อ ๆ ไป ปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อย  ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและเพิ่มปริมาณผลผลิต


วิธีใช้


โรยปุ๋ยชีวภาพ  2  กำมือ ต่อพื้นที่  1  ตารางเมตร  เอาหญ้าหรือฟางแห้ง  คลุมทับ
รดด้วยน้ำผสมกับน้ำหมักพืช  อัตราส่วน 1 ช้อนแกง  ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้   7 วัน จึงลงมือปลูก
โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบ ๆ ทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง
รดน้ำผสมน้ำหมักพืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ   1-2 ครั้ง
ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง  กากน้ำตาล (เพื่อช่วยจับใบ) ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีศัตรูพืชระบาด
ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม  โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ  คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน  รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง
เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว  ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ          2 กิโลกรัมต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะ ๆ


การเลี้ยงสุกร
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร  กากน้ำตาล 1 ลิตร  น้ำสะอาด 100 ลิตร  ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท  หมักทิ้งไว้ 3 วัน
วิธีใช้
ทำความสะอาด
นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก  จะกำหนดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ทำซ้ำทุกสัปดาห์  น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์
ผสมอาหาร
ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5-20 ถังแดง (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง  มีความต้นทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย
ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำหมักพืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะรักษาอาการได้
หมายเหตุ
กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำหมักพืช        กากน้ำตาล  กับน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน

วีธีใช้


ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน  จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง  ไข่ดก  น้ำหนักดี  อัตราการตายต่ำ  และมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น
ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำ  ฉีดพ่นตามพื้นเพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซและกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย
โดยใช้สาร  พ.ด.1
พ.ด.1  มาจากคำว่า  “พัฒนาที่ดิน 1”  เป็นสารเร่งที่ประกอบด้วยเชื้อรา  แบคทีเรีย และแอคติโนมัยซีส  รวมถึงสารอาหารหลายชนิด อยู่ในลักษณะแห้ง สะดวกในการนำไปใช้และเก็บรักษา  ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านนี้สามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  จะประหยัดเวลาในการทำปุ๋ยหมักและได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี  โดยจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นเชื้อจุลินทรีย์พวกที่ทำการย่อยสลายเศษพืชได้ดี  เมื่อกองปุ๋ยหมักมีความร้อนสูง    จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในกองปุ๋ยหมักได้ด้วย
ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก
เศษพืชแห้ง 1,000  กก. (1 ตัน หรือประมาณ 8-10 ลูกบาศก์เมตร)
มูลสัตว์ 200  กก.
ยูเรีย 2  กก.
สารเร่ง พ.ด.1   150  กก. (1 ถุง)
วิธีการกอง
ชั้นแรกเป็นเศษพืชผัก  ฟางข้าว  ขุยมะพร้าว  กากอ้อย แกลบ  เศษหญ้า ฯลฯ
ชั้นที่ 2 ก็โรยมูลสัตว์ (ปุ๋ยคอก) บาง ๆ ให้ทั่วบริเวณ
ต่อจากนั้นก็โรยยูเรียบาง ๆ ให้ทั่ว
โรยสารเร่ง  พ.ด.1 ให้เต็มบริเวณบนกอง
คลุมด้วยดินหรือดินร่วนที่หาได้ บริเวณใกล้ ๆ กันกองปุ๋ยหมักไว้


การปฏิบัติและดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
ควรมีการรดน้ำกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้ความชื้นภายในกองปุ๋ยหมักมีความเหมาะสมประมาณ 50-60% (โดยน้ำหมัก)  และควรกลับกองปุ๋ยหมัก  ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยหมัก
หลักการพิจารณากองปุ๋ยหมักที่ใช้แล้ว
ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้มีข้อสังเกตง่าย ๆ ดังนี้
สีของปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลเข้มดำ
ลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืช เมื่อบี้ดูเศษจะอ่อนนุ่มยุ่ยง่านไม่แข็ง
อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักไม่สูง หรือใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก
ต้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อนำมาใช้  แสดงว่าปุ๋ยหมักย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว


การใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


ชนิดพืช อัตราปุ๋ยหมัก อัตราปุ๋ยเคมี,    สูตรปุ๋ย วิธีการใช้
ข้าว 2-4 ตัน/ไร่ 15-30 กก./ไร่
16-20-0, 18-22-0
20-20-0, 16-16-8 หว่านทั่วพื้นที่ แล้วไถกลบก่อนการปลูกพืช
พืชไร 2-4 ตัน/ไร่ 25-50 กก./ไร่
16-20-0, 18-22-0
10-5-4 ใส่เป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
ไม้ผล - ไม้ยืนต้น 20-50 กก./หลุม 100-200 กรัม/หลุม
15-15-15, 14-14-14
12-12-7 ใส่ปุ๋ยหมักตอนเตรียมหลุมปลูก  โดยคลุกเคล้ากับดินแล้วใส่ก้นหลุม
พืชผัก 4-6 ตัน/ไร่ 40-50 กก./ไร่
15-15-15, 13-13-21
20-10-10 หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนการปลูกพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น