วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วันสำคัญ

Drop of water
จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันน้ำของโลก” หรือ World Day for Water โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี2535ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21
มีการจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องน้ำของโลกขึ้นที่ประเทศต่างๆ ดังนี้
ครั้งที่ 1: ปี 2540 ณ ประเทศโมร็อกโก
ครั้งที่ 2ปี 2543 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ครั้งที่ 3ปี 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น
ในการประชุมหนแรกนั้น ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกำหนด หลักจริยธรรมในการใช้น้ำครั้งใหม่เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำโลกดังนั้น การประชุมน้ำโลกในครั้งที่สองจึงเป็นการสานต่องานที่ทำค้างไว้ โดยจะมีการผลักดัน " แผนปฏิบัติการ " สำหรับน้ำในอีก 25ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ชาวโลกมีน้ำสะอาดไว้ดื่มกิน ชำระร่างกาย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึงในปี 2568 ผู้รับหน้าที่ทำงาน คือ " คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยน้ำสำหรับศตวรรษที่ 21 " ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มการลงทุนในการจัดหาน้ำทั่วโลกขึ้นเป็นปีละ 180,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติได้มีสารเนื่องในวันน้ำโลก โดยย้ำว่า " น้ำสะอาดเป็นสิ่งพิเศษ ในศตวรรษใหม่นี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถผลิตน้ำได้ น้ำจึงไม่มีสิ่งใดมาแทนที่ หรือทดแทนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นคุณค่าของน้ำและรักษาทรัพยากรนี้ไว้ " เลขาธิการยูเอนยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำ ซึ่ง "สตรีเพศ" ในฐานะผู้จัดการครอบครัวจะต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ ตลอดจนการ " ปฏิวัติสีน้ำเงิน "
หน่วยงานของสหประชาชาติ 2 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำโดยตรง คือ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก้) กับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสเคป) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั่วโลก ซึ่งน่าสนใจและมีหลายเรื่องที่คนทั่วยังไม่รู้และนึกไม่ถึง กล่าวคือ ยูเนสโกและเอสเคประบุว่า พื้นผิวโลก2ใน3ปกคลุมด้วยน้ำแต่เป็น " น้ำเค็ม " จากทะเลและมหาสมุทรทั้งหมด ส่วน " น้ำจืด " ซึ่งจำเป็นต่อการยังชีพของมนุษย์นั้น ครอบคลุมเพียงร้อยละ ของผิวโลกเท่านั้น แต่ " แหล่งน้ำจืด " ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ,ใต้และธารน้ำแข็ง หรือซึมอยู่ใต้ผิวดินลึก จนมนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนแหล่งน้ำจืดที่ใช้ได้จริงๆมีเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่หาได้จากแม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำจืดเพียงน้อยนิดนี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิตพลโลกกว่า 6,000ล้านคน ซึ่งแน่นนอนว่าย่อมไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์กลับมีมากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่บันยะบันยัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของน้ำจืด จนตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง ยูเอนได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ำของมนุษย์ว่า ในแต่ละวันมนุษย์ต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2-5 ลิตร ใช้ชักโครกโถส้วม 5-15 ลิตร ใช้อาบน้ำ 50-200 ลิตรขณะที่ใช้น้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร ราวร้อยละ 70 ของน้ำทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งต้องสูญเปล่าเพราะซึมลงไปในดินหรือไม่ก็ระเหยขึ้นสู่อากาศหมด กรุงเทพมหานครของไทย ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เมืองที่ผลาญทรัพยากรน้ำมากที่สุดในโลก เฉลี่ยแล้วใช้น้ำราว 265 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะที่ชาวฮ่องกงใช้น้ำเปลืองน้อยที่สุดในโลก เพียง 112 ลิตร ต่อคนต่อวัน
การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รับผิดชอบทำให้การไหลเวียนของแม่น้ำหยุดชะงักลง ระดับน้ำในแม่น้ำและน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มดินเปียกหายไป สภาพปนเปื้อนพิษจากมลพิษต่างๆทำให้คุณภาพน้ำลดลง จำนวนน้ำสะอาดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลกก็มีส่วนทำให้จำนวนน้ำจืดสำหรับใช้ในรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและขาดสุขลักษณะ เป็นสาเหตุทำให้เด็กทารก ในเอเชียและแปซิฟิกเสียชีวิตกว่าปีละ แสนคน นอกจากนี้สถิติของสหประชาชาติเมื่อสิ้นปี2542 พบว่ามีประชากรโลกราว 2,400ล้านคน ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากระบบสุขอนามัยเกี่ยวกับน้ำที่ทันสมัย หน่วยงานของสหประชาชาติได้เสนอแนะทางออกในปัญหานี้หลายข้อ อาทิ การอนุรักษ์น้ำ การบำบัดน้ำเสียการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การจัดการเรื่องน้ำและดินให้เหมาะสม การทำวิจัยแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ ออกกฎหมายการใช้น้ำที่ทันสมัย การจัดสรรน้ำอย่างเสมอภาค และการปลุกจิตสำนึกในหมู่ประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ  ยิ่งกว่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตัวบุคคล องค์กร อาสาสมัคร ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลกลาง ตลอดจน องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
และในการประชุมครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 200 ประเทศ
การประชุมครั้งนี้ รัฐบาลไทยจะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการประชุม ประการได้แก่
1. การเสนอรายงานโครงการประเมินสถานการณ์น้ำของโลกในส่วนของประเทศไทยกรณี ศึกษาการพัฒนาและบริหารลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. การเสนอแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ ของประเทศไทย
3. การประชุมและจัดทำแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี
ในการประชุมระดับโลกทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันการจัดการน้ำระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าว อาทิเช่น World Water Council (WWC), Clobal Water Partnership (GWP) และธนาคารโลก ต่างใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอทิศทางหรือการจัดทรัพยากรน้ำและการแบ่งปันผลประโยชน์ (Water Resources Management and Benefit Sharing) โดยมีประเด็นใจกลาง 4ประเด็น ได้แก่ หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ – เอกชน (Public Private Partnership), เขื่อนกับการพัฒนา (Dam and Development Partnership), ค่าคืนทุน (Cost Recovery), การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management) ซึ่งสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้
การแปรรูปกิจการประปาหรือระบบชลประทานของรัฐ (Privatization) ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกผลักดันจากการประชุมระดับนานาชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การประชุมเรื่องน้ำจืดโลกที่กรุงบอน เดือนธันวาคม 2544 หรือ การประชุมที่โจฮันเนสเบิร์ก แนวทางเช่นนี้ถูกใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมให้บริษัทข้ามชาติด้านกิจการน้ำประปาเข้ามา ลงทุนหรือรับสัมปทานในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมาก เช่น ประเทศโบลิเวีย
แนวความคิดในเรื่องการคิดค่าคืนทุนระบบชลประทานหรือระบบการลงทุนด้านการจัดหาน้ำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทที่มาลงทุนในแต่ละประเทศ และการส่งเสริมระบบการค้าเสรีของโลก
การส่งเสริมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบของเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อการบรรเทาน้ำท่วม ซึ่งผลักดันโดย UNDP ได้จัดทำโครงการ Dam and Development Partnership และ World Commission on Dam (WCD) การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ Integrated Water Resources Management (IWMI) โดยมีแนวทางให้เกิดองค์กรระดับลุ่มน้ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ)
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา http://www.geocities.com/Eureka/Park/1476/waterday.html
http://www.lungkao.org/xboard/viewthread.php?tid=48
http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/water_day.html


ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซนขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซนมีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_09_16.htm
http://www.hunsa.com/variety/new16.shtml
http://www.thai.net/smileman/wonosone.htm
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm
ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา
นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE    EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยราชการ องค์กรเอกชน ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า
3. เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า
1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า
2. กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ)
2.1 การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง
2.2 การทำแนวกันไฟ โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ที่มา : http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
http://www.geocities.com/firecontrol13/24febtext.html
http://www.forest.go.th/ForestFire/24%20feb.htm
http://www.geocities.com/firecontrol35/ron1.html


 
กลับหน้าแรกวันสำคัญ
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อมขึ้นจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
วันที่ 14 มกราคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้  ดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและพื้นที่  เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จำเป็นต้องทำการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า  เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้งได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น"ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ มกราคม 2533 กำหนดให้วันที่ 14มกราคม ของทุกปีเป็น วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
 
1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ธันวาคม 2532
2. เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้และภาคอื่นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไป
3. เพื่อระลึกถึงมาตรการอันเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลที่ได้สั่งปิดป่า ระงับการทำไม้ในป่าสัมปทาน ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
 
1.ผลทางตรงที่เกิดขึ้นก็คือ การทำไม้ในป่าสัมปทาน จำนวน276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน เป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ใช้สอยในอนาคต คิดเป็นเนื้อไม้เฉลี่ยปีละ ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลกโดยตรง
2. ด้านนโยบายของรัฐบาล เป็นการตอบสนองนโยบายการป้องกันรักษาป่าและนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
3. ด้านสังคมและการเมือง ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ทำให้มีการใช้ไม้อย่างประหยัด และส่งผลให้สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ เป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติได้ตลอดไป
 
เพื่อให้การจัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเจตนารมย์ของทางราชการจึงสมควรได้รับการสนับสนุน ดังนี้
ภาคราชการ จัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ การบรรยายความรู้ในสถานศึกษา ประกวดวาดภาพป่าไม้ แจกเอกสารเผยแพร่แจกกล้าไม้แก่ประชาชน ตลอดจนจัดประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไป เชิญชวนให้ประชาชนงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งร่วมกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ในทุกท้องที่
ภาคเอกชน ประชาชนควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางราชการเท่าที่สามารถจะทำได้ ควรถือเอาวันที่ 14 มกราคม เป็นวัน ลด ละ เลิก การบุกรุกแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า และร่วมมือร่วมใจกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนที่ถูกตัดทำลายไปให้มากที่สุด
 
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน เยาวชน จะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการ จัดให้มีขึ้นทุกท้องที่ในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเพื่อสนับสนุนนโยบายการป่าไม้แห่งชาติ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของทุกคนในชาติตลอดไป
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/list_envday.htm
http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
http://www.thai.net/huaikum/14jan.html
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ เมษายน ของทุกปีเป็น "วันรักการอ่าน" กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งคนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่องและทั่วถึง พร้อมกันนี้ วันที่ เมษายน ของทุกปียังเป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ อีกด้วย
จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกปลูกฝังการอ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะมีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน ทั้งสติปัญญา ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม
โครงการส่งเสริมการอ่าน จึงเป็นอีกหนึ่งในมาตรการของรัฐ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย ด้วยการส่งเสริมให้เกิดหนังสือดีราคาถูก ถึงมือเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึง หนังสือเล่มแรก (Book start) ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด
 
มาตรการ 5: การส่งเสริมการอ่าน
 
แนวคิด:
การส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและเข้าถึงหนังสือคุณภาพ
จากอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยังน้อย เฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่ สิงค์โปร์และเวียตนาม 40-60 เล่มต่อคนต่อปี (ปี2549)
อัตราการอ่านหนังสือของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งหนังสือที่อ่านส่วนใหญ่คือตำราเรียน และอัตราการอ่านลดลงตามลำดับเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง (จากประชากรผู้ที่อ่านหนังสือร้อยละ69.1ในปี2548 เหลือ 66.3ในปี 2551) ทั้งนี้เพราะมีสื่ออื่นที่สนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกม เป็นต้น( สนง.สถิติแห่งชาติ 2551)
อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ 0.22 ของรายได้ต่อหัว (ปี2550)
 
 
ปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่อ่านหนังสือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งจากครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐบาล ที่ผ่านมาการรณรงค์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสังคมไม่มีเอกภาพ และไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน หรือสนับสนุน
การส่งเสริมการอ่าน จึงต้องมีการดำเนินการไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านของอุปสงค์ (Demand side) คือการสร้างพฤติกรรมการอ่าน การกระจายหนังสือให้ถึงมือเด็ก และการรณรงค์สร้างกระแสรักการอ่าน และด้านอุปทาน (Supply side) คือ มาตรการทางภาษี ที่ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง การขยายช่องทางเผยแพร่ใหม่ๆ และการพัฒนาคุณภาพหนังสือ
ตัวอย่าง โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start) เครือข่ายหนังสือเพื่อเด็ก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการหนังสือเล่มแรก เพื่อสร้างกระแสรักการอ่าน ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด
จากผลการวิจัยที่ติดตามพัฒนาการของเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ไปจนถึงอายุ 5 ขวบ เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับหนังสือ พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพัฒนาการดีในทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ทักษะทางภาษา และคณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม
 
แนวทาง:
1. รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านระดับชาติ ที่มีองค์ประกอบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ (อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้มีการจัดทำแผนแม่บท ยุทธศาสตร์ และดำเนินการด้านกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น
2. รัฐบาลสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือให้ห้องสมุดชุมชน และกระจายหนังสือดีให้ถึงเด็กและครอบครัวในชุมชน รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนที่มีร้านค้าสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้จัดมุมจำหน่ายหนังสือดีราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและหาซื้อได้ง่าย
3. รัฐบาลกำหนดมาตรการทางภาษี (เช่น ให้ธุรกิจหนังสือเด็กอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0%) เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตหนังสือคุณภาพออกเผยแพร่มากขึ้น และการลดหย่อนจากเงินบริจาคให้แก่กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
4. รัฐบาลประกาศเรื่อง การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้เริ่มในวันหนังสือเด็กแห่งชาติ (2 เมษายน 2552)
 
ที่มา http://thaikid.in.th/reading


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น